วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วันสำคํญของฝรั่งเศส

แม้ว่าฝรั่งเศสจะเป็นรัฐฆราวาส แต่วันสำคัญต่าง ๆ กลับเกี่ยวข้องกับศาสนาเป็นส่วนใหญ่ อาจด้วยเหตุบังเอิญว่าวันต่าง ๆ เหล่านี้ส่วนใหญ่ตรงกับวันอาทิตย์ซึ่งถือว่าเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาคริสต์
วันขึ้นปีใหม่ (Jour de l’an) 1 มกราคม วันนักขัตฤกษ์ ตรงกับวันแรก
ของปีตามตารางปฎิทินสากล ในประเทศฝรั่งเศส

วันขึ้นปีใหม่
10 มกราคมนี้เริ่มกำหนดใช้ในปี ค.ศ. 1564 และ วันที่ 31 ธันวาคมถือว่าเป็นการฉลองคืนส่งท้าย
ปีเก่าเพื่อต้อนรับขึ้นวันปีใหม่ด้วย ในวันขึ้นปีใหม่นี้ ถือเป็นโอกาสที่จะให้ของขวัญ (เงิน) กับเด็ก ๆ

เอพิพานี (Epiphanie) เทศกาลของชาวคริสเตียน ในโบสถ์ละติน เป็นการฉลองการมาเยี่ยม
พระเยซูของ Rois mages โดยธรรมเนียม มีการทานขนมหวาน เค้ก (รูปทรงมงกุฎในทางตอนใต้)
หรือ กาแลตดูครัว (ทางเหนือของฝรั่งเศส) จัดขึ้นในวันอาทิตย์แรกของเดือนมกราคม

ชองเดอเลอ (Chandeleur) 2 กุมภาพันธุ์ วันทางศาสนาของชาวคริสเตียน แรกเริ่มมาจาก
เทศกาลแสงไฟ ในปี ค.ศ. 472 เทศกาลนี้ได้กลายเป็นการเฉลิมฉลองการเป็นตัวแทนของ
พระเยซูภายในโบสถ์ตามธรรมเนียมมีการทำขนมเครป แล้วโยนขึ้นกลับด้านโดยกำเงินไว้ในมือ
อีกข้างเพื่อถือเป็นการนำโชคดีมาสู่ตัวผู้โยน

มาร์ดี-กรา (Mardi-gras) เทศกาลของชาวคาทอลิก เมื่อวันสิ้นสุด 7 วันหลังเทศกาลงานรื่นเริง (ซึ่งผ่านมื้ออาหารกันมาตลอดสัปดาห์) วันนี้กำหนดขึ้น 47 วันก่อนเทศกาลอีสเตอร์ และเป็นการ
เริ่มต้นของกาเรม (เทศกาลถือศีลอด) สัญลักษณ์ของเทศกาลนี้คืองานกานาวาล (ซึ่งมีความหมายถึงการเอาเนิ้อออก หรือการเริ่มต้นการถือศีล) ตามธรรมเนียมต้องการให้ชาวบ้านแต่งตัวหลากหลายในวันนั้น (ในทุกวันนี้กลายเป็นเด็ก ๆ ) ในบางหมู่บ้านมีการเผาตุ๊กตากานาวาลในวันงานด้วย

Mercredi des Cendres เทศกาลของชาวคาทอลิก เป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นเทศกาลถือศีลอด เป็นสัญลักษณ์ให้เตือนถึงการตาย

อาทิตย์แรกของเทศกาลศีลอด (1er dimanche de Carême) ไม่มีกิจกรรมใด ๆ พิเศษ

พฤหัสบดีกลางเทศกาลศีลอด (Jeudi de la Mi-cerême) เป็นสัญลักษณ์ครึ่งนึงของช่วง
เทศกาลถือศีลอดที่มี 40 วัน(โดยไม่นับวันอาทิตย์) ตรงกับวันพฤหัสบดีของอาทิตย์ที่ 3 ของตลอดระยะเวลาเทศกาลถือศีล เป็นการพักของช่วงการถือศีล ในปัจจุบันนี้ไม่ค่อยฉลองกันนัก

Dimanche des Rameaux รำลึกการเดินทางถึงนครเยรูซาเลมของพระเยซู และความรักของ
พระเยซุคริสต์และการเสียชีวิตบนไม้กางเขน

วันอาทิตย์อีสเตอร์ (Dimanche de Pâques) 
3 วันหลังจากวันสิ้นชีพของพระเยซุ พระเยซูได้
ฟิ้นคืนชีพ เทศกาลอีสเตอร์เป็นวันสำคัญที่สุดของปฎิทินชาวคริสต์ เป็นสัญลักษณ์ของวันสิ้นสุด
ของเทศกาลถือศีลอด วันอีสเตอร์สอดคล้องกับวันอาทิตย์แรกต่อจากวันพระจันทร์เต็มดวง
ในฤดูใบไม้ผลิ ชาวคริสต์ต้องหยุดงานเพือ่ไปสวดมิซซา ในวันนี้พระสันตปะปาจะประทานพรในฝรั่งเศสตามธรรมเนียมทำการมอบไข่ (ชอกโกแลต) หรือของประดับธรรมเนียมอิ่น ๆเกี่ยวกับอาหาร
: ทานแกะ

วันจันทร์อีสเตอร์ (Lundi de Pâque)
ในยุคกลางตลอดสัปดาห์หลังเทศการอีสเตอร์เป็นสัปดาห์นักขัตฤกษ์ ในปัจจุบันเหลือลงเพียงวันจันทร์ และไม่ใช่งานฉลองที่เคยทำอย่างสม่ำเสมอ ในกรณีของฝรั่งเศสไม่มีการฉลองเป็นพิเศษ

วันนำสาร (Annonciation) 25 มีนาคม ตามศาสนาคริสต์ เทวดากาเบรียล นำสารมาบอก
มารีถึงการตั้งครรภ์พระเยซู 9 เดือนก่อนวันคริสต์มาสถือได้ว่าเป็นวันจุติของพระเยซู

วันรำลึกการถูกคุมตัว(Souvenir déportés)
เป็นวันระลึกถึง 150000 ฝรั่งเศสที่ถูกนำตัวไป
เข้าค่ายกักกันของนาซี ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 วันรำลึกนี้จัดอยู่ในอาทิตย์สุดท้ายของเดือนเมษายนวันรำลึกนี้จัดอยู่ในอาทิตย์สุดท้ายของเดือนเมษายน

วันแรงงาน ( Fête du travail) 1 พฤาภาคม เป็นธรรมเนียมของผู้ใช้แรงงานในการต่อสู้ที่มีอยู่ทั่วโลก ในประเทศส่วนใหญ่จัดเป็นวันหยุดประจำปี ประเทศฝรั่งเศสเริ่มต้นในปี 1919 และในปี 1947 เป็นวันหยุดเต็มวันโดยได้รับค่าแรงด้วย ในวันนี้สหภาพแรงงานต่าง ๆ จะเดินขบวนกันตามเมือง
ต่าง ๆ ของประเทศ และมีการมอบช่อดอกมูเก้ด้วย

วันกลับคืนสู่สวรรค์ (Jeudi de l’Ascension) 
เป็นการฉลอง 39 วันหลังจากเทศกาลอีสเตอร์
หลังจากลงมาเผยแพร่คำสอน พระเยซุก็ได้เสด็จกลับขึ้นสวรรค์์

วันฉลองชัยชนะ (Victoire 1945) ชัยชนะทีมีต่อเยอรมันในยุคการครอบครองโดยทหารนาซี
สันติภาพได้กลับคืนสู่ทวีปยุโรป โดยสัญญาสงบศึกที่ทำขึ้นในวันที 8 พฤษภาคม 1945 เวลา
ประมาณเที่ยงคืน โดยมีนายพลโซเวียต Jpukov ฝ่ายนาซี Keitel ผู้แทนจากสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และนายพล de Lattre ของฝรั่งเศส เป็นวันนักขัตฤกษ์ตั้งแต่ปี 1953 แต่ได้ถูกยกเลิกไปในสมัย V.Giscard d’Estaing และได้กลับมากำหนดใหม่ในยุคของ F.Mitterrand 1 มิถุนายน 1981

วันอาทิตย์ปงโตโค๊ต (Dimanche de Pentecôte) เป็นวันเทศกาลของชาวคริสต์ กำหนดขึ้น
7 อาทิตย์หลังเทศกาลอีสเตอร์ เพื่อรำลึกถึงวิญญาณศักด์สิทธิ์ที่ลงมาจาก...

ทรินิเต้ (Trinité) วันเทศกาลของชาวคริสต์ อาทิตย์ที่ 8 หลังจากเทศกาลอีสเตอร์ ปัจจุบันไม่ค่อยมีการเฉลิมฉลองมากนัก ในศาสนาคริสต์ ทรินิเต้เป็นการกล่าวถึงพระเจ้าใน 3 บุคคล พระบิดา บุตร และพระจิต

วันพระเจ้า (Fête Dieu) ฉลองในวันพฤหัสบดีถัดจากวันทรินิเต้ (หรืออาจวันอาทิตย์ขึ้นอยู่กับ
ทางปฎิบัติ) ฉลองถึงความเสียสละของพระคริสต์ โดยมีการแบ่งขนมปัง

วันแม่ (Fête des mères)กำหนดเป็นทางการในปี 1928 กำหนดไว้ในวันอาทิตย์สุดท้ายของ
เดือนพฤษภาคม (หรือกรณีพิเศษเลื่อ่นไปในเดือนมิถุนายนหากชนกับปงโดโค๊ต) ในปัจจุบัน
กลายเป็นการค้าและเป็นวันที่ชื่นชอบของเด็ก ๆ

วันพ่อ (Fête des pères) เช่นเดียวกับวันแม่ แต่มีกำหนดขึ้นเป็นทางการในปี 1952

วันชาติ (Fête Nationale) รำลึกถึงวันแห่งการปฎิวัติของฝรั่งเศส 1789 โดยเฉพาะการทำลาย
คุกบาสตีล ในวันที่ 14 กรกฎาคม 1978 คุกบาสตีลเป็นคุกสำคัญของปารีส และเป็นสัญลักษณ์
ของอำนาจกษัตริย์ ในวันที่ 14 กรกฎาคม 1789 ชาวกรุงปารีสได้ทำการเผาและเข้ายึดคุก
การเข้ายึดคุกบาสตีลนี้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการก่อตั้งสาธารณรัฐฝรั่งเศส

วันอัสสัมซิยง (Assomption) 15 สิงหาคม วันทางศาสนาของชาวคาทอลิกที่ทำการฉลองใน
การที่พระแม่มารีขึ้นสู่สรวงสวรรค์ เป็นวันสำคัญกลางฤดูร้อนมีการ........

Croix glorieuse 14 กันยายน กำหนดโดยจักรพรรคดิ์กองสตองแตง ในปี ค.ศ. 335 ในปัจจุบันมีการฉลองในวันนี้ไม่มากนัก

ตุสแซง (Toussaint) 1 พฤศจิกายน วันทางศาสนาของชาวคาทอลิก ในการเฉลิมฉลองให้กับทุกนักบุญโดยโบสถ์โรมัน ในวันนี้ได้กลายเป็นวันเยี่ยมหลุมฝังศพ เพือ่วางดอกไม้กับผู้เสียชีวิตไปแล้ว และดอกคริสซองแตม

เดฟัน (Défunts) 2 พฤศจิกายน ในฝรั่งเศสรวมกันกับวันหยุดตุสแซง

วันสิ้นสุดสงคราวโลกครั้งที่ 1 (Armistice 1918) 11 พฤศจิกายน 1918 รำลึกถึงการสิ้นสุด
สงครามโลกครั้งที่ 1 โดยมีการเซ็นสัญญายุติสงครามมที่ Rethondes ป่า Compiège (Oise)

Christ Roi วันทางศาสนาของชาวคาทอลิกอาทิตย์สุดท้ายของปี 5 อาทิตย์ก่อนคริสต์มาส Avent ช่วงเวลาหลังจากคริสต์มาส ระหว่าง 3-4 สัปดาห์

คริสต์มาส (Noël) เป็นเทศกาลการเกิดของพระเยซูคริสต์ มีการกำหนดขึ้นในปี ค.ศ. 354
โดยสันตปะปา Libère มีการประดับตกแต่งในวันที่ 24 ธันวาคมตอนเย็น ด้วยต้นสน คอกเด็ก
ของขวัญ และทานอาหรระหว่างครอบครัว เทศกาลนี้ยังกลายเป็นสัญสักษณ์การทำค้าขาย
อย่างมหาศาล

วันครอบครัว (Saint famille) ต่อจากคริสต์มาส (อาทิตย์หรือศุกร์ถัดไปหากวันคริสต์มาส
ตรงกับวันอาทิตย์)เป็นการสร้างครอบครัวโดยเยซูและมีบุพการีคือ มารีและโยเซพ

ศัพท์ฝรั่งเศสที่ควรรู้

->> La famille ครอบครัว <<-
La mere แม่
Le pere พ่อ
La grand-mere ย่า ยาย
Le grand-pere ปู่ ตา
la soeur พี่สาว น้องสา่ว
la frere พี่ชาย น้องชาย
L'oncle ลุง อา น้า
La tante ป้า อา น้า
Le cousin ลูกทีี่ลูกน้อง ผุ้ชาย
Le cousine ลูกทีี่ลูกน้อง ผุ้หญิืง

->> Les Professions อาชีพ <<-
un professeur ครู
un footballeur นักฟุตบอลีื
une htesse de l'air แอร์โฮสเตส
un chirurgien หมอผ่าตัด
une coiffeuse ช่างตัดผม
un jardinier คนทำสวน
une danseuse นักเต้นรำ
un facteur บุรุษไปรษณีย์
un peintre จิตกร
un chauffeur คนขับรถ
un dentist หมอฟัน
ีune musicienne นักดนตรี
un pilote นักบิน
un cuisinier พ่อครัว
un eleve นักเรียน
une infirmiere พยาบาล

->> LES SAISONS <<-
L'ete ฤดูร้อน
L'automne ฤดูใบไม้ร่วง
L'hiver ฤดูหนาว
L'printemps ฤดูใบไม้ผลิ


->> Savez-vous faire la tete? การแสดงความรู้สึุกทางสีหน้า <<-
gentil ใจดี
amoureux ตกหลุมรัก
poli สุำภาพ
agressif ก้าวร้าว
triste เศร้าหมอง
surprise ประหลาดใจ
joyeux ร่าเริง
fou de rage บ้าคลั่ง
Malade ไม่สบาย
soucieux วิตกกังวล
fatigue เหนื่อย
en colere โกรธ

->> La correspondence การติดต่อสื่อสาร <<-
La carte โปสการ์ด
La lettte จดหมาย
L'enveloppe ซองจดหมาย
Le timbre แสตมป์
L'adresse ที่อยู่
Un paquet กล่องพัสดุ
La boite aux lettres ตู้รับจดหมาย
La poste ไปรษณีย์

->> La place สถานที่ สี่แยก <<-
Les feus สัญญาณไฟจราจร
La statue อนุสาวรีย์
Le passage pieton ทางข้ามม้าลาย
Le trottoir ทางเดินเท้า บาทวิถี
L'arret d'antobus ป้ายรถโดยสารประจำทาง
Le carrefour สี่แยก
L'agent de police ตำรวจจราจร
L]autobus รถโดยสารประจำทาง
Le pieton คนเดินเท้า คนเดินถนน

Le Tour de France 2011 การแข่งจักรยาน


การแข่งจักรยานทางไกล Le Tour de France 2011
ครั้งที่ 98 ได้เริ่มขึ้นแล้ว ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม- วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม 2554 นี้





Le tour de France (ฝรั่งเศส: Tour de France หมายถึง การท่องฝรั่งเศส) หรือบางครั้งเรียกว่า ลากรองด์บูกล์ (La Grande Boucle) และ เลอตูร์ (Le Tour) เป็นการแข่งขันจักรยานทางไกลรอบประเทศฝรั่งเศส ซึ่งจัดขึ้นเป็นเวลา 3 สัปดาห์ในช่วงเดือนกรกฎาคมของทุกปี เริ่มจัดขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1903 จนถึงปัจจุบัน (เว้นการจัดแข่งขันในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสอง)
Le tour de Franceเป็นการแข่งขันจักรยานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลก เป็นการแข่งขันจักรยานทางไกลหนึ่งในสามรายการใหญ่ ที่จัดการแข่งขันในยุโรป รวมเรียกว่า แกรนด์ทัวร์ โดยอีกสองรายการคือโดยอีกสองรายการคือ
★ จีโรดีตาเลีย (Giro d’Italia) จัดในอิตาลี ช่วงเดือนพฤษภาคม-ต้นมิถุนายน
★ วูเอลตาอาเอสปันญา (Vuelta a España) จัดในสเปน ช่วงเดือนกันยายน
การแข่งขันครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1903 เกิดขึ้นเนื่องจากการท้าทายกันทางหน้าหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสชื่อ โลโต้ (L’Auto) มีนักแข่งเข้าร่วมจำนวนถึง 60 คน แต่สามารถเข้าเส้นชัยได้เพียง 21 คน ซึ่งกิตติศัพท์ของความยากลำบากในการแข่งขัน ทำให้การแข่งขันนี้เป็นที่สนใจ และมีผู้ชมการแข่งขันช่วงสุดท้ายในกรุงปารีส ตามสองฟากถนนระหว่างทางราว 100,000 คน และกลายเป็นประเพณี ที่การแข่งขันทุกครั้งจะไปสิ้นสุดที่ประตูชัย จตุรัสเดอเลตวล ปารีส
ในปี ค.ศ. 1910 เริ่มมีการจัดเส้นทางแข่งขันเข้าไปในเขตเทือกเขาแอลป์ ปัจจุบันเส้นทางการแข่งขันจะผ่านทั้งเทือกเขาแอลป์ ทางตะวันออก และเทือกเขาพีเรนีสทางใต้ของฝรั่งเศสการแข่งขันตูร์เดอฟรองซ์จะแบ่งเป็นช่วง (stage) เพื่อเก็บคะแนนสะสม ผู้ชนะในแต่ละช่วงจะได้รับเสื้อ (jersey) เพื่อสวมใส่ในวันต่อไป โดยมีสีเฉพาะสำหรับผู้ชนะในแต่ละประเภท คือ
★ สีเหลือง (maillot jaune – yellow jersey) สำหรับผู้มีคะแนนรวมสูงสุด
★ สีเขียว (maillot vert – green jersey) สำหรับผู้ชนะในแต่ละสเตจ
★ สีขาวลายจุดสีแดง (maillot à pois rouges – polka dot jersey) สำหรับผู้ชนะในเขตภูเขา ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่า จ้าวภูเขา King of the Mountains สีขาว (maillot blanc – white jersey) สำหรับผู้มีคะแนนรวมสูงสุด ที่อายุต่ำกว่า 25 ปี
★ สีรุ้ง (maillot arc-en-ciel – rainbow jersey) สำหรับผู้ชนะการแข่งขันจักรยานชิงแชมป์โลก (World Cycling Championship) ซึ่งมีกฏว่าจะต้องใส่เสื้อนี้เมื่อแข่งขันในประเภทเดียวกับที่ผู้แข่งนั้นเป็นแชมป์โลกอยู่
★ เสื้อแบบพิเศษ สำหรับผู้มีคะแนนรวมสูงสุด และชนะการแข่งขันช่วงย่อย และจ้าวภูเขา


Du samedi 2 au dimanche 24 juillet 2011, le 98e Tour de France comprendra 21 étapes pour une distance de 3 430,5 kilomètres




วันชาติของฝรั่งเศส (La Fête Nationale)

วันชาติฝรั่งเศสตรงกับวันที่ 14 กรกฎาคมของทุกปี ซึ่งถือเป็นวันแห่งการปฎิวัติการปกครองจากระบบเจ้าขุนมูลนายไปสู่การปกครองในระบอบสาธารณรัฐ โดยประชาชนทั่วทั้งประเทศได้ลุกฮือขึ้นต่อต้านการปกครองแบบยุกโบราณจนกระทั้งได้รับชัยชนะเป็นครั้งแรกจากบุกเข้าทลายคุกบาสติลที่เปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของการกดขี่ประชาชน เมื่อ 209 ปีก่อนและนำไปสู่การล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้สำเร็จ โดยสมัชชาแห่งชาติได้กำหนดโครงสร้างกฏหมายฉบับใหม่ที่ยกเลิกการให้ความมีเอกสิทธิ์ ขจัดเรื่องสินบนและล้มเลิกระบบฟิวดัล(ระบบศักดินา) จากนั้นต่อมาจึงมีการจัดงานฉลองแห่งชาติขึ้นเรียกว่า “The Feast of the Federation” เนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปีของเหตุการณ์จลาจลที่กองกำลังแห่งชาติจากทั่วประเทศได้เดินทางรวมพลกันที่ “Champs-de-Mars” ในกรุงปารีส

แต่พอหลังจากนั้นการจัดงานฉลองเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ของวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2332 ก็ต้องหยุดไปเนื่องจากสถานการณ์ภายในประเทศยังคงไม่สงบเกิดสงครามปฏิวัติขึ้นหลายครั้งในช่วงระยะเวลาปี พ.ศ.2335-2345 และมาในสมัย “the Third Republic*”นี้เอง รัฐบาลจึงได้มีความคิดที่จะรื้อฟื้นการจัดงานเฉลิมฉลองวันชาติฝรั่งเศสขึ้นมาใหม่ โดยมีการผ่านร่างกฎหมายฉบับเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2423 ขึ้นมา ซึ่งกำหนดให้วันที่ 14 กรกฎาคม ของทุกปีเป็น “วันชาติฝรั่งเศส”และได้จัดงานเฉลิมฉลองครั้งแรกขึ้นในปีเดียวกันนั้น

ทั้งนี้งานจะเริ่มตั้งแต่ค่ำของวันที่ 13 โดยจะมีการแห่คบเพลิงและล่วงเข้าวันรุ่งขึ้นเมื่อระฆังตามโบสถ์วิหารต่าง ๆ หรือเสียงปืนดังขึ้นนั่นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่างานฉลองได้เริ่มต้นขึ้นแล้วอย่างเป็นทางการ เริ่มจากริ้วขบวนการสวนสนามของเหล่าทัพ จากนั้นเมื่อถึงช่วงเวลากลางวันประชาชนจะร่วมฉลองด้วยการเต้นรำอย่างรื่นเริงสนุกสนานไปตามท้องถนนและมีการจัดเลี้ยงกันอย่างเอิกเกริกจนถึงเวลาค่ำ ซึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือการจุดพลและการละเล่นดอกไม้ไฟที่ถือประเพณีปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นยังมีสิ่งสร้างความบันเทิงอื่น ๆ อีกมากมายที่จัดขึ้นทั่วประเทศทั้งการจัดการแข่งขันกีฬา การจัดนิทรรศการ งานแสดงสินค้า โดยไม่มีชาวฝรั่งเศสคนใดจะละเลยไม่นึกถึงและร่วมฉลองในวันสำคัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศครั้งนี้

เพลงชาติฝรั่งเศส





เพลงชาติฝรั่งเศส

La Marseillaise

Allons, enfants de la Patrie,

Le jour de gloire est arrive,

Contre nous de la tyrannie

L’etendard sanglant est leve,

L’etendard sanglant est leve.

Entendez-vous, dans le campagnes,

Mugir ces feroces soldats?

Ils viennent jusque dans nos bras,

Egorger nos fils, nos compagnes.

Aux armes, citoyens!

Formez vos bataillons!

Marchons! Marchons!

Qu’un sang impur

abreuve nos sillons




ฤดูกาลในฝรั่งเศส




ฝรั่งเศสเป็นประเทศหนาว ในปีหนึ่งแบ่งออกเป็น 4 ฤดู แต่ละฤดูจะกินเวลา 3 เดือน วันเดือนที่กำหนดว่าเป็นวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของแต่ละฤดูนั้น จริง ๆ แล้วไม่ได้หมายความว่าอากาศจะต้องเปลี่ยนแปลงอย่างนั้นจริง ๆ วันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิบางปีในบางท้องถิ่นอากาศจะหนาวมากกว่าฤดูหนาวในบางถิ่น ฤดูทั้ง 4 ของฝรั่งเศสมีดังนี้คือ
1. ฤดูใบไม้ผลิ ( le printemps )
ฤดูใบไม้ผลิเริ่มวันที่ 21 มีนาคม สิ้นสุดวันที่ 21 มิถุนายน ในฤดูนี้อากาศจะอบอุ่นขึ้น ต้นไม้ที่โกร๋นปราศจากใบมาตลอดเวลา 3 เดือน ในฤดูหนาวที่หนาวเย็นจะเริ่มผลิใบ การเปลี่ยนแปลงนี้รวดเร็วมาก ในเวลาไม่กี่วันหลังอากาศอบอุ่นต้นไม้จะผลิใบเขียวชอุ่ม ปลายเดือนมีนาคมและเดือนเมษายนอากาศจะไม่แน่นอน ในช่วงนี้จึงยังคงเก็บเสื้อโค้ตไม่ได้เพราะอากาศจะหนาวเมื่อไรก็ได้ บางทีอาจจะมีฝนตกบ้าง อากาศจะดีจริง ๆ ในเดือนพฤษภาคม ฤดูใบไม้ผลิเป็นฤดูที่สวยงาม ฟ้าจะเป็นสีฟ้าใส พระอาทิตย์ซึ่งไม่เคยปรากฏในฤดูหนาวเริ่มส่องแสง ฤดูนี้ได้ชื่อว่าเป็นฤดูแห่งดอกไม้แห่งงานฉลองแห่งความรัก ( la saison des fleurs, des fêtes, des amours ) มีงานฉลองมากมาย เช่น พิธีรับศีลจุ่ม พิธีแต่งงาน ฯลฯ สำหรับนักเรียนนักศึกษา เดือนอากาศดีนี้หมายถึงการสอบปลายปีด้วย แม้ว่าฤดูใบไม้ผลิเป็นฤดูที่ทุกคนคิดว่าสวงาม อากาศดี แต่ก็เป็นฤดูที่อากาศไม่แน่นอน อากาศจะเปลี่ยนแปลงจนไม่สามาถคาดหมายได้ แต่ฤดูใบไม้ผลิก็นับว่าเป็นฤดูที่ดีที่สุดฤดูหนึ่งของปี
2. ฤดูร้อน ( l’été )
เริ่มวันที่ 22 มิถุนายน สิ้นสุดวันที่ 22 กันยายน ฤดูร้อนเป็นฤดูที่กลางวันยาวมาก เมื่อกลางวันยาว กลางคืนก็สั้นประมาณ 6 – 7 ชั่วโมง กลางวันยาวในที่นี้ หมายความว่า พระอาทิตย์ตกดินช้า สามทุ่มหรือสี่ทุ่มยังไม่มืด เมื่อไม่มืดก็มีความรู้สึกว่ายังไม่ถึงกลางคืน ในประเทศสแกนดิเนเวียนนั้นในฤดูร้อน กว่าพระอาทิตย์ตกดินหรือจะมืดก็ประมาณห้าทุ่มหรือเที่ยงคืน กลางคืนจะยาวประมาณ 6 – 7 ชั่วโมง ฤดูร้อนในฝรั่งเศสอากาศร้อน ผู้คนจึงไปชายทะเล ฤดูร้อนเป็นฤดูแห่งวันหยุด ผู้คนเฝ้ารอฤดูนี้เพื่อจะได้ไปเที่ยวทะเล เพื่อจะได้อาบแดด เพื่อจะได้รับประทานผลไม้สด ๆ เช่น สตรอเบอรี่ แต่ในฤดูร้อนผลไม้ยังไม่อร่อย ต้องรอให้ผลไม้สุกเสียก่อน ฤดูร้อนบางปีอากาศอาจจะไม่ดีฝนตกบ่อย ๆ ฤดูร้อนที่อากาศไม่ดีเรียกว่า été pourri ความหมายก็บอกว่าไม่เพลิดเพลิน เป็น “ฤดูร้อนที่เน่าเสีย” คาดว่า “été canicule” หมายถึงช่วงต้นฤดูร้อนที่อากาศร้อนมาก บางเมืองอากาศจะร้อนมาก อุณหภูมิที่สูงสุดในฤดูร้อนในฝรั่งเศสประมาณ 30 องศาเซลเซียส ซึ่งร้อนมากสำหรับประเทศหนาว ทำให้คนอยากไป vacances โดยเฉพาะคนที่อยู่ในเมืองใหญ่อย่างปารีส
3. ฤดูใบไม้ร่วง ( l’automne )
ฤดูใบไม้ร่วงเริ่มต้นวันที่ 23 กันยายน สิ้นสุดวันที่ 21 ธันวาคม อากาศที่สดใส แดดจ้าในฤดูร้อนเริ่มเปลี่ยน ท้องฟ้าสีเทา ลมแรง ใบไม้เริ่มเปลี่ยนจากสีเขียวมาเป็นสีเหลือง กลางวันสั้นมากขึ้น กลางคืนยาวขึ้น ใบไม้สีเหลือง แห้งและร่วง ฤดูใบไม้ร่วงก็เหมือนฤดูอื่น ๆ คือ อาจจะเป็นฤดูใบไม้ร่วงที่อากาศดี หรือฤดูใบไม้ร่วงที่อากาศไม่ดี คือ ฝนอาจจะตกบ่อย ตอนต้นฤดูอากาศมักจะดี ตอนปลายฤดู คือ เดือนพฤศจิกายนอากาศจะไม่ดี ท้องฟ้าเป็นสีเทาและมืดครึ้ม ตอนที่ใบไม้ร่วง ต้นไม้โกร๋นเป็นตอนที่เศร้า แต่ฤดูใบไม้ร่วงเป็นฤดูที่สวยฤดูหนึ่ง เพราะใบไม้ที่เปลี่ยนสีทำให้ฟ้าสวยงามหาที่เปรียบไม่ได้ ป่าไม้ในฤดูใบไม้ร่วง ( ตอนต้นและตอนกลางฤดู ) จะใช้คำขยายว่า coloré ซึ่งหมายถึงระบายด้วยสีประดับด้วยสี ( อันสวยงาม ) “ศิลปินมักจะให้ฤดูใบไม้ร่วงเป็นฤดูที่สวยที่สุด เนื่องจากสีใบไม้ที่เปลี่ยนสีแตกต่างกันมากมายหลายสี ซึ่งธรรมชาติเท่านั้นจะทำได้ ทางใต้ของฝรั่งเศสอากาศจะไม่หนาว แต่มีลมแรง ทางใต้จึงสามารถปลูกต้นไม้ที่สู้ลมได้ เช่น ต้นมะกอก ( Olivier ) ต้นโอ๊ค ( Chêne vert ) ต้นไม้ที่มีรากยาว ๆ เช่น องุ่น ฤดูใบไม้ร่วง เป็นฤดูที่ดีที่สุดของคนบางกลุ่ม คนฝรั่งเศสจำนวนหนึ่งที่ชอบล่าสัตว์จะถือปืนออกล่าสัตว์ ฤดูนี้เป็นช่วงที่คนในประเทศหนาวสามารถออกมาเดินกลางแจ้งได้ ก่อนที่ความหนาวจะคลืบคลานเข้ามา

4. ฤดูหนาว ( l’hiver )
เริ่มวันที่ 22 ธันวาคม สิ้นสุดวันที่ 20 มีนาคม ปลายฤดูใบไม้ร่วง กลางวันสั้นมากขึ้น ท้องฟ้ามืดครึ้ม ฤดูหนาวในประเทศหนาวหรือประเทศฝรั่งเศสคือ ความหนาว ฝนและหิมะ แต่ฤดูหนาวก็เหมือนฤดูอื่น ๆ คือ เป็นฤดูที่คนบางกลุ่มเฝ้ารอ นั่นคือผู้ที่ชอบกีฬาฤดูหนาวและผู้ทำธุรกิจเกี่ยวกับกีฬาฤดูหนาว เมืองที่อยู่บริเวณภูเขาและเป็นสถานีสกี ( Stations de ski ) จะคึกคักและมีชีวิตชีวา ฤดูหนาวเป็นฤดูแห่ง " Sports d'hiver " ครอบครัวหรือโรงเรียนจะพาลูก ๆ และเด็ก ๆ ไปเล่นสกีบนภูเขาในช่วง " Vacances de neige " ผู้ที่เดินทางโดยการขับรถที่อยู่ในเขตภูเขาที่มีหิมะตกจะต้องมี pneus à clons หรือ roués avec chaine ซึ่งเป็นยางรถที่ใช้บนถนนที่ลื่นด้วย vergle ( ฝนปนหิมะ ) gel ( น้ำที่แข็งตัว ) และ dégel ( น้ำแข็งที่ละลายแล้ว ) นอกจากเจ้าของรถจะต้องเตรียมรถของตนเองให้พร้อมที่จะแล่นไปบนถนนที่อันตรายแล้ว ทางราชการก็เตรียม chasse - neiges ( รถกวาดหิมะ ) เพื่อเปิดทางหากหิมะตกมาก ๆ บนทางหลวงก็จะมีกระสอบทรายและกระสอบเกลือวางไว้ประจำจุด ฤดูหนาวเป็นฤดูแห่งการฉลอง จะเห็นว่ามีเทศกาลหลายเทศกาลในฤดูนี้ เช่น Fête de Saint - Nicolas ; Noël ; Nouvel An ; Fête des Rois ; Carnaval
นอกจากจะได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีอากาศปานกลาง ( le climat doux et tempéré ) ของยุโรปแล้ว อากาศในฝรั่งเศสยังแตกต่างกันตามลักษณะภูมิประเทศ และลักษณะที่เด่นคือ ความไม่แน่นอน อากาศแต่ละฤดูไม่เหมือนกัน และฤดูเดียวกันในแต่ละปีก็ไม่เหมือนกัน

Le festival (เทศกาลสำคัญในฝรั่งเศส)


Le festival du théâtre à Avignon. (เทศกาลละครที่ Avignon)
Le festival du film à Canne. (เทศกาลภาพยนต์ที่ Canne)
Le festival du film fantastique à Avoriaz. (เทศกาลมหัศจรรย์ภาพยนต์ที่ Avoriaz)
Le festival de la musique à Aix-en-Provence. (เทศกาลดนตรีที่ Aix-en-Provence)
Le festival du jazz à Metz. (เทศกาลดนตรีแจ็สที่ Metz)
Le festival de la bande dessinée à Angoulème. (เทศกาลการ์ตูนที่ Angoulème)


เทศกาล Carnaval de Nice



มีจัดขึ้นทุก ๆ เดือนกุมภาพันธ์ นักท่องเที่ยวจะหลั่งไหลมาร่วมงานกันเยอะมากรถทัวร์จอดเรียงกันเป็นตับริมทะเล โรงแรมถูกจองเต็มทุกแห่งถือเป็นงานใหญ่ประจำปีของทางเฟร้นช์ริเวียร่านี้เลยล่ะ ทางเมืองเขาทุ่มงบเต็มที่แต่ละปี เขาก็เปลี่ยน theme การแสดง ให้แตกต่างกันออกไป สำหรับ Theme ของปี 2010 คือ ” King Of The Blue Planet “ บรรดาขบวนพาเหรดน้อยใหญ่จึงถูกออกแบบขึ้นโดยเน้นสัตว์ในท้องทะเลเป็นหลักค่ะ รถทัวร์จอดเรียงกันเป็นตับริมทะเล โรงแรมถูกจองเต็มทุกแห่งถือเป็นงานใหญ่ประจำปีของทางเฟร้นช์ริเวียร่านี้เลยล่ะ ทางเมืองเขาทุ่มงบเต็มที่









































เทศกาลละครที่ Avignon

Avignon Theatre Festival สร้างโดย Jean Vilar ในปี 1947 เป็นปีของฤดูร้อนผู้คนมักแวะพักกันที่นี้และจำเป็นในชีวิตทางวัฒนธรรมของฝรั่งเศส








เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์

เป็นเทศกาลภาพยนตร์ที่มีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1946 ถือเป็นเทศกาลภาพยนตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกเทศกาลหนึ่ง และมีอิทธิพลมากที่สุดรวมถึงชื่อเสียง เทียบเคียงกับเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิสและเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน งานจัดขึ้นประจำปี ราวเดือนพฤษภาคม ที่ Palais des Festivals et des Congrès ในเมืองคานส์ ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส


ประวัติเล็กน้อย นี้แน่นอนก็คือ Angoulême การ์ตูน City International และภาพที่บันทึกภาพการ์ตูนทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในฝรั่งเศส ประเภทของห้องสมุดแห่งชาติการ์ตูน … และยังอย่างใดไม่มีอะไรจะ Angouleme เพื่อผูกความสัมพันธ์ให้ดีกับศิลปะที่ 9เมืองอุตสาหกรรมขนาดเล็กมี Angouleme ไม่มีการเชื่อมต่อโดยเฉพาะในจักรวาล 70s ต้นนี้ มันเริ่มต้นด้วยนิทรรศการง่ายๆเรื่อง”10 ล้านภาพ : ยุคทองของการ์ตูน”จัดในช่วงปลาย 1972 ใน Groux ริเริ่มของ Francis จากนั้นสมาชิกสภาเทศบาล เขามีความคิดที่จะโทร Claude Moliterni เพื่อให้ได้ภาพและเสียงสำหรับงานนิทรรศการ ในปีถัดไป, John Mardikian, รองนายกเทศมนตรีวัฒนธรรมคือการจัดปักษ์ของวรรณคดีที่ที่เขาสงวนสองวันพุธอุทิศให้กับการ์ตูน แม้นั้นของผู้เขียนที่มีชื่อเสียงมากขึ้นลักษณะที่ Angouleme ต่อไปความกระตือรือร้นที่ตามนั้นมันก็เพียงพอที่เนื่องจากปีนี้เทศกาลถูกสร้างขึ้นในรูปแบบปัจจุบัน มันหนักเสมอเพื่อเทศกาล Lucca ในเวลาที่ใหญ่ที่สุดของชนิดในยุโรปแล้วจะจัดโดยสมาคมประธาน Francis Groux และมีเลขานุการเป็นผู้ใดนอกจาก John Mardikianทั่วไป




เทศกาลลาเวนเดอร์ Fête de la lavande


…กลับมาอีกครั้งกับเทศกาลลาเวนเดอร์ประจำปีในแคว้นโพรวองซ์ ต้อนรับนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลมาชมการเก็บเกี่ยว เลือกชม เลือกชิม เลือกซื้อสินค้าโดยตรงจากเกษตรกร สาธิตการกลั่นลาเวนเดอร์ และขั้นตอนการผลิตผลิตภัณฑ์จากลาเวนเดอร์ ชมการแสดงพื้นเมือง ของชาวโพรวองซ์ ร่วมเก็บเกี่ยวลาเวนเดอร์จากทุ่งและนำกลับไป เป็นของที่ระลึกจากโพรวองซ์ พลาดไม่ได้กับการนั่งเฮลิคอปเตอร์ ชมทุ่งลาเวนเดอร์ที่กว้างสุดลูกหูลูกตา … วันที่ 4 กรกฎาคม ที่เมือง Ferrassières … วันที่ 18 กรกฎาคม ที่เมือง Valensole

วัฒนธรรมที่แตกต่างของฝรั่งเศสกับไทย
๑.คนฝรั่งเศส ชอบสั่งน้ำมูกเสียงดัง บางทีเจอชายหนุ่มหล๊อหล่อ… แต่ดันสั่งน้ำมูกเสียงดัง…โอเคเลย ยิ้มค้างแหละข้าพเจ้า
๒.เรื่องของตด… อันนี้คนใกล้ตัวเลย ทั้งสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษ เวลาอยากจะตด ก็เรียกว่า ปล่อยกันอย่างเสรีเลยทีเดียว
๓.เรื่องของการล้างจาน… ที่บ้านมีเครื่องล้างจาน แต่ชอบวางจานที่ใช้แล้ว รอจนกว่าจะเต็มเครื่องแล้วถึงจะล้างทีเดียว ซึ่งบางทีก็กินเวลาไปสองวัน… บางบ้านกินเวลาไปวันที่สาม… เอ่อ… สองวันก็ว่าแย่แล้ว
๔.หากล้างจานเพียงไม่กี่ใบ… คนที่นี่จะใช้น้ำยาล้างจานแบบพิเศษ ที่จุ่มน้ำเดียวแล้วเอาขึ้นมาเช็ดให้แห้ง โดยที่ไม่ล้างน้ำทิ้งแบบบ้านเราจนสะอาดจนแน่ใจอะไรประมาณนั้น หรือเค้าประหยัดน้ำกันขนาดนั้นนะ
๕.เรื่องการอาบน้ำ… ที่นี่จะอาบเพียงครั้งเดียวต่อวัน และอาบแบบรวดเร็วมาก ไม่ถึงห้านาทีก็เสร็จแล้ว
๖.เรื่องเสื้อผ้า… จะใส่ซ้ำอยู่ สาม ครั้งกันเลยทีเดียว…
๗.เรื่องกิน เป็นอันรู้กันว่า วัฒนธรรมการกินของฝรั่งเศสนั้นเป็นสเต็บ จะเริ่มจากของเบาๆ ก่อน แล้วตามด้วยเมนูหนัก เช่น ถ้ามีหน่อไม้ฝรั่งต้ม สลัดผัก แกะอบ ขนมปัง ชีส ก็จะไล่กันมาเป็นสเต็บ จะกินทีละเมนู
๘.เห็นหลายบ้านที่มีตู้เย็น ตู้แช่แข็ง ยิ่งกว่าร้านขายอาหารทะเล… แบบว่าอลังการสุดๆ สองตู้แช่ใหญ่ๆ สามตู้เย็นปกติ รวมๆ แล้วก็ซัดไปสี่ห้าตู้กันเลยทีเดียว (ค่าไฟเท่าไหร่ไม่ต้องเดาให้ยาก) อาจเป็นว่า เก็บตุนเสมียงช่วงหน้าหนาว
๙.เรื่องประหยัด อันนี้เห็นทุกครัวเรือน ที่ต้องประหยัด หรือคนชาตินี้ ระมัดระวังเรื่องเงินกันทั้งประเทศก็ไม่รู้นะ ชาติอื่นเป็นหรือเปล่าไม่แน่ใจ แต่เมืองไทยเรา ก็ไม่คิดว่าจะต้องประหยัดกันมากมายก่ายกอง เช่น เวลาที่ต้องการซื้อของกิน ผลไม้ ผักสด บ้านเราก็ซื้อกินกันจุใจ กินไม่หมดก็ทิ้งบ้างสำหรับผัก แต่ที่นี่ เห็นชัดๆ ว่าระมัดระวังและบริการควบคุม เรื่องผัก ได้อย่างไม่มีเหลือทิ้ง
๑๐.เรื่องของการใช้รถยนต์ ที่นี่เห็นว่ารถคันเล็กแล้ว ก็ยังมีเล็กกว่าที่เห็นอีก เรียกว่าแข่งกันเล็กก็ว่าได้ ในขณะที่บ้านเรา แข่งกันขับรถคันใหญ่โตมโหฬาร
๑๑.เรื่องการบริการ…คนที่นี่จะบริการตัวเองเป็นหลัก เช่น เติมน้ำมัน หรือไปช็อปปิ้งก็จะต้องไปเก็บรถเข็นเข้าที่เข้าทางห้ามทิ้งเกะกะ หรือ การที่เราจะแหลมหน้าเข้าไปช่วยเหลือใครบางคน
ต้องถามเค้าก่อนว่า เขาต้องการหรือเปล่า เนื่องจากมันจะเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัว ในขณะที่บ้านเราเป็นการแสดงความมีน้ำใจ และเรื่องของการบริการ บ้านเรานี่บริการสุดใจขาดดิ้นกันเลยทีเดียว ที่ฝรั่งเศสนี่ยาก!!!!
๑๒.เรื่องเวลาเปิดปิดห้าง สรรพสินค้า ที่นี่เปิดกันแค่ สองสามทุ่มในเมืองใหญ่ๆ ปิดเสาร์อาทิตย์ อีกต่างหาก
หลายเดือนก่อน ที่ โอบาม่า และศรีภรรยามาปารีส…. และโอบาม่าได้เอาเรื่องที่เค้าไม่สามารถหาที่เดินช็อปปิ้งกับครอบครัวในวันอาทิตย์…เอามาล้อ ซาโกซี่ เป็นเรื่องขบขันไป
ว่าวันอาทิตย์ไม่สามารถช็อปปิ้งในฝรั่งเศสได้

Elizabeth Bathory

เคาท์เตส อลิซาเบธ บาโธรี่ (Countess Elizabeth Báthory) เกิดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคมค.ศ. 1560 ในเมือง Nyírbátor ประเทศฮังการี เป็นคนในตระกูล บาโธรี่ ซึ่งมีความเกี่ยวดองกับกษัตริย์ฮังการีในสมัยนั้น

อลิซาเบธ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1614 (54 ปี) ในเมือง Čachtice ประเทศสโลวาเกีย

คลิกชมภาพต่อไป  คลิกชมภาพต่อไป   

ประวัติ

เคาท์เตส อลิซาเบธ บาโธรี่ เป็นหญิงสาวที่มีความเชื่อในเรื่องชีวิตที่เป็นอมตะ และต้องการคงร่างของตนเองให้คงดูอ่อนเยาว์อยู่เสมอ จึงมีความคิดที่ว่า หากได้อาบเลือดของหญิงสาวบริสุทธิ์แล้ว จะทำให้ตนเองดูอ่อนเยาว์ได้ตลอดไป เธอจึงสั่งให้คนรับใช้ไปเอาร่างของหญิงสาวบริสุทธิ์ มากรีดเอาเลือดใส่อ่างด้วยเครื่อง ไอรอน เมเดน (Iron maiden) แล้วอาบต่างน้ำ โดยมีเหยื่อที่ต้องสังเวยชีวิตให้กับเธอไปไม่น้อยกว่า 600 คน กว่าที่เธอจะถูกคนจับไปขังในคุกมืดจนตาย เธอได้รับสมญานามว่า The Blood Countess และ Countess Dracula

เอลิซาเบธ เกิดในปราสาทเชิงเขาคาร์เทียนใกล้ๆ กับแคว้นทรานซิลวาเนีย ซึ่งเป็นของตระกูลบาโธรี่อันเป็นตระกูลขุนนางชั้นสูงของฮังการี่และสืบสายมา จากตระกูลแฮบสเบิร์กอันเก่าแก่ของยุโรป ตระกูลบาโธรี่จึงเป็นตระกูลที่เก่าแก่ร่ำรวย มีอำนาจล้นหลาม เป็นที่น่ายำเกรงของประชาชนทั่วไป และปกครองแคว้นทรานซิลวาเนียมาหลายต่อหลายยุคสมัย

ความจริงแล้ว เอลิซาเบธไม่ใช่เด็กหญิงที่สวยงาม เธอออกจะขี้เหร่ด้วยซ้ำแต่ด้วยความที่เป็นลูกผู้ดีมีตระกูล จนจักรพรรดิมาร์คมิชิเลียนที่ 2 เคยมาขอดูตัวด้วยซ้ำ เอลิซาเบธจึงมีทั้งความสวยทั้งหน้าตา รูปร่าง(เธอคิดเอาเอง) และชาติตระกูลสูงส่ง แต่มันเหมือนนรกจับยัดมาเกิด เพราะเธอกลับมีอาการบกพร่องทางจิตอย่างรุนแรง

เป็นเรื่องธรรมดาของตระกูลเก่าแก่ที่มีการแต่งงานกันเองในหมู่ญาติเพื่อ รักษาทรัพย์สมบัติและอำนาจเอาไว้ ทำให้ผู้สืบสายเลือดตระกูลนี้จำนวนมากมีอาการบกพร่องทางจิตอันเนื่องมาจาก ลักษณะทางพันธุกรรม เป็นต้นว่าโรคฮิสทีเรีย พฤติกรรมรักร่วมเพศ หรือแม้แต่การสืบทอดของสาวกลัทธิบูชาปีศาจ ผู้มักมากในกาม ฯลฯ เอลิซาเบธ ก็เช่นเดียวกัน

นิสัยเพี้ยนของเอลิซาเบธ ปรากฏตั้งยังเล็กๆ อยู่นั่นแหละ เอลิซาเบธนั้นแทนที่จะพอใจกับเกียรติยศที่ผู้คนเตรียมใส่พานทองมาประเคนให้ แต่เธอกลับใฝ่ต่ำ ทำท่าเบื่อหน่ายพวกพี่เลี้ยง ครูอาจารย์ที่มาอบรมสั่งสอน เธอกลับเกเรหนีเรียน แอบไปเที่ยวเล่นกับลูกชาวนา ชาวไร่ที่เป็นทาสติดที่ดิน เธอชอบเล่นสัปดนเสียจนท้องเมื่ออายุเพียง 13

ข่าวที่น่าอับอายถูกส่งไปบอกผู้เป็นมารดาอย่างเร่งด่วน และก่อนที่จะมีผู้ใดระแคะระคาย เธอก็ถูกส่งตัวไปไว้ในปราสาทแห่งหนึ่งของตระกลูบาโธรี่ที่ห่างไกลสายตาผู้คน ท่านแม่ของเธออ้างว่าลูกสาวไม่สบายต้องการอยู่ในที่สงบเพื่อรักษาตัว และเมื่อทารกเกิดมาก็อาจถูกฆ่าทิ้งหรือไม่ก็ถูกส่งไปที่ลับหูลับไม่ให้มีใคร รู้เด็ดขาดเลยว่าเจ้าสาวเคยมีลูกกับพวกไพร่ แต่ใครไม่รู้ว่า ทารกลูกคนแรกของเอลิซาเบธหลังจากลืมตามายังโลก สุดท้ายแล้วซะตากรรมเป็นเช่นใด

เมื่อเธอโตขึ้น เอลิซาเบธ เริ่มมีอาการป่วยเป็นโรคปวดหัวเรื้อรังจนตลอดชีวิตของเธอ มีหมอหลายคนทำการรักษาแต่ก็ไม่หาย จนกระทั่ง.........

มีเรื่องเล่ากันว่าในสมัยเด็กที่เธอเกิดอาการปวดหัวอย่างรุนแรง จนกัดเนื้อไหล่ของสาวใช้ที่เข้ามาพยาบาล หลุดออกมา สาวใช้ร้องลั่น เอลิซาเบธได้ยินเสียงกรีดร้องของสาวใช้นั่นเอง น่าแปลกที่อาการปวดหัวของเธอกลับหายเป็นปลิดทิ้ง นับแต่นั้นมา เกิดอาการปวดหัว เธอก็จะทรมานสาวใช้เพื่อให้เสียงร้องเหล่านั้นเป็นยาระงับอาการของเธอ

ปี 1575 เมื่อเอลิซาเบธ อายุ 15 ปี เธอก็แต่งงานกับท่านเคานท์ฟีเรนซ์ นาดาสดี้ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องที่อายุมากกว่า 11 ปี (หลังจากแต่งงานแล้ว เอลิซาเบธ ก็ยังคงใช้ชื่อตระกูลเดิม) ทั้งสองย้ายที่อยู่ไปยังปราสาทเซติซ ปราสาทกว้างใหญ่แต่มืดทะมึนดูน่าสยดสยองกลางป่าลึกบนภูเขาคาร์ลปาเชีย ในสโลวาเกีย เพื่อจะอบรมเตรียมรับตำแหน่งเคาน์เตส นายหญิงแห่งอาณาจักรอันไพศาล

ท่านเคานท์ฟีเรนซ์ นาดาสดี้ ไม่ใช่คนดีมากนัก ออกจะจิตวิตถารเช่นเดียวกับอลิซาเบธเสียด้วยซ้ำ สองสามีภรรยามักสนุกตื่นเต้น สนุกสนาน อยู่ด้วยกันเสมอกับการได้ทรมานบ่าวไพร่ ซึ่งเคาน์ฟีเรนซ์ มักจะเล่าให้อลิซาเบธฟังถึงการที่เขาเคยทรมานทรกรรมเชลยชาวเติร์กอย่างโหด เหี้ยม และอลิซาเบธเองก็สนองคิดค้นหาวิธีสยดสยองต่างๆนาๆมาทดลองใช้กับคนของตัวบ้าง

ทั้งสองมีความสุขกับรสนิยมที่ต้องกันอย่างนี้มากล้นจนมีบุตรธิดาด้วยกันถึง 4 คน

แต่ฟีเรนซ์มักจะไปออกรบตามที่ต่างๆจนไม่ค่อยอยู่ติดปราสาท ชีวิตสมรสของเอลิซาเบธ จึงไม่หวานชื่นเท่าใดนัก อาการปวดหัวของเธอกำเริบถี่ขึ้นและการทรมานสาวใช้ก็ค่อยๆหนักข้อขึ้นทุกที เป็นต้นว่า การแทงเข็มเข้าที่ปลายนิ้วของสาวใช้ หรือจับสาวใช้มาทาน้ำผึ้งทั่วตัวแล้วโยนลงไปในห้องใต้ดินที่เต็มไปด้วยมด แต่นี่ก็ยังไม่นับเป็นการเปิดฉากตำนานเลือดของเธอเลยด้วยซ้ำ


เอลิซาเบธ เริ่มหางานอดิเรกใหม่มาทดแทนชีวิตอันน่าเบื่อ ซึ่งก็คือมนต์ดำที่คนรับใช้เป็นผู้แนะนำนั่นเอง เธอมักจะลงไปหมกตัวอยู่ในห้องใต้ดินและประกอบพิธีกรรมประหลาดกับคนรับใช้ บ่อยครั้ง และในไม่ช้าเอลิซาเบธ ก็เริ่มมีชู้ ฟีเรนซ์รับรู้เรื่องนี้แต่ใจกว้างพอที่จะทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น หากไม่นานนักแม่ของฟีเรนซ์ก็ย้ายมาอยู่ด้วย จึงเป็นการเปิดสงครามเย็นระหว่างแม่สามีลูกสะใภ้ในที่สุด

เอลิซาเบธมักประพฤติตัวเป็นภรรยาผู้เรียบร้อยต่อหน้าสามี แต่พอลับหลัง เธอก็ทำกระทั่งการจับสาวใช้ของแม่สามีมาทรมานจนตาย

จะอย่างไรก็ตาม เอลิซาเบธมีลูก 4 คน จึงทำให้สภาพครอบครัวยังไม่ถึงกับพังทลายลงในทีเดียว ชีวิตฆาตกรของเธอเริ่มต้นขึ้นหลังจากการตายของสามีเสียมากกว่า

ปี 1600 ในฤดูหนาว เอลิซาเบธอายุได้ 40 ปี ฟีเรนซ์สามีคู่ชีวิตซาดิสต์ได้เสียชีวิตลงในขณะอายุ เพียง 51 ปี ทิ้งสมบัติและอำนาจทุกอย่างไว้ในมือของภรรยา และแทบจะในวันเดียวกันนั้นเอง แม่ก็จากโลกนี้ตามลูกชายไปอีกคน มีข่าวลือภายหลังว่าเป็นการวางยาพิษ

ทีนี้ก็ไม่มีใครจะมาขวางทางเอลิซาเบธได้อีก เธอกลายเป็นราชินีในอาณาจักรของเธอ ชีวิตประชาชนก็เหมือนกับลูกไก่ในกำมือ จะบีบจะคลายก็ขึ้นอยู่กับใจเธออย่างเดียว จะมีก็แต่อย่างหนึ่งที่ไม่เป็นไปดังใจคิด เอลิซาเบธมีความภูมิใจในรูปโฉมของตัวเองมาก แต่ตัวเธอก็ไม่สามารถเอาชนะกาลเวลาได้ นับวันร่างกายเหี่ยวยานตามกาลเวลา เธอต้องการความสวย ความสวยที่เป็นอมตะตลอดกาล

มีการสั่งให้แม่มดหมอผีที่คุ้นเคยทำยาคืนความสาวมาใช้หลายขนาน แต่ไม่ว่าอันไหนก็ไม่ค่อยเห็นผลเท่าใดนัก จนกระทั่ง.........


เช้าวันหนึ่ง เธอตื่นขึ้นมาล้างหน้าล้างตาแต่งองค์ทรงเครื่อง ทันใดนั้นขณะที่เธอส่องดูเงาตัวเองในกระจกเธอก็ต้องชะงักเพ่งมองแล้วมองอีก นี่ความชราย่างกรายเข้ามาทำร้ายตัวเธอแล้วหรือจริงซินะ.....เธอนึกได้ว่า อายุเธอปาเข้าไปตั้ง 45 แล้วนี่นา เอลิซาเบธใจหายวาบถึงจะไม่สวยแต่เธอก็ไม่อยากแก่และกลัวอย่างที่สุด เธอรู้สึกเหมือนความแก่เฒ่านั้นมันมีตัวตน เอาปากครีมมาหนีบดึงถึ้งเนื้อที่เต่งตึงผุดผ่องของเธอทีละชิ้นๆ เมื่อเธอหงุดหงิด ขัดข้องก็ยิ่งต้องหาเรื่องระบายอารมณ์และความบันเทิงใดเล่า จะเท่ากับการลากคนมาทรมาน

ขณะที่สาวใช้กำลังสางผมให้กับเอลิซาเบธ คงเพราะเกร็งไปหน่อยจึงออกแรงมากไป ดึงผมหลุดติดหวีมาหลายเส้น เอลิซาเบธระเบิดอารมณ์ทันที เธอใช้เชิงเทียนที่อยู่ใกล้มือทุบเด็กสาวอย่างไม่ยั้งมือ แล้วลงมือหวดแซ่หนังผูกปมโลหะใส่เนื้อหนังมังสาของทาสชะตาขาดนั้นอย่างเมา มัน ความรุนแรงของเธอทำเอาแซ้ตวัดเกี่ยวหนังของผู้เคราะห์ร้ายหลุดกระเต็นออกมา เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย หยาดเลือดสาดกระเซ็นเป็นฝอยมาติดตามตัวของเธอ การโบยหฤโหดจบลงพร้อมๆ กับชีวิตของทาสที่เละเป็นหมูบะช่อแต่ทว่าเรื่องที่ร้ายที่สุดกำลังจะเกิด ขึ้นเคาน์เตส หอบเหนื่อยเกือบหมดแรงแต่ก็สนุกสมใจไม่น้อยเลย

ความอัจฉริยะบังเกิดขึ้นอีกแล้ว เอลิซาเบธตาวาวโรจน์เปี่ยมสุขขึ้นมาทันใด คราวนี้เธอค้นพบสูตรใหม่แห่งยาอายุวัฒนะ เธอนั่งลงเห็นและเห็นหยาดเลือดทาสที่กระเด็นมา จึงให้สาวใช้ต้นห้องเอาผ้าชุบน้ำมาเช็ดหน้า และแล้วความโหดเหี้ยมแปรเปลี่ยนเป็นความพิศวง เมื่อเคาน์เตสพบว่าใต้รอยเลือดนั้นผิวของเธอกลับนุ่มนวลผุดผ่องเป็นยองใยราวสาวแรกรุ่นอ่อนนุ่ม ละมุนละไม ผิดกับผิวเนื้อตรงอื่นอย่างเหลือเชื่อ เธอคิดได้ว่าเลือดสด ๆ มีคุณสมบัติพิเศษที่จะบันดาลให้เธอเป็นสาวอมตะได้ตลอดกาล เลือดนั้นจะต้องเป็นของสาวแรกรุ่นซินะ มันถึงจะได้ฤทธิ์ของน้ำแห้งชีวิตอย่างเต็มที่

และด้วยเหตุนี้เองโศกนาฏกรรมการฆ่าสังหารเด็กสาวกว่า 600 คนเพื่อประทังความงามของเอลิซาเบธ บาโธรี่จึงเริ่มต้นขึ้น

เหยื่อของเอริซาเบทส่วนใหญ่จะเป็นคนเลือกเหยื่อด้วยตนเองเธอต้องการเลือดของ เด็กสาวบริสุทธิ์ โดยเฉพาะสาวแรกรุ่นที่แสนสวยมีอกอวบอิ่ม

เธอสั่งให้เชือดและชำแหละเพื่อรีดเลือดทุกหยดออกมาให้ได้มากที่สุด เด็กหญิงคนแล้วคนเล่าต้องตายอย่างทุกทรมาน บางคนถูกกรีดร่างจนเป็นริ้วลึกถึงกระดูก ตัดเส้นเลือดทุกเส้นในร่างที่งดงาม หลายคนถูกแหวะอก ผ่าท้องกรีดหัวใจเลือดพุ่งไหลเป็นสายน้ำ แล้วให้เธออาบร่างนั้นอย่างมีความสุข

เมื่อลูกทาสของคนรับใช้และทาสในที่ดินตายหมดแล้ว เอริซาเบทก็ให้ลูกน้องบริวารไปล่อลวงหลอกเอาสาวชาวบ้านตามชนบทเข้ามา

เอลิซาเบทเริ่มทำการรวบรวมเด็กสาวจากที่ต่างๆในดินแดนของตน ชาวบ้านที่ยากจนต่างก็ยินดีที่จะส่งลูกสาวออกมาทำงานในปราสาทเพียงเพื่อแลก กับเสื้อผ้าไม่กี่ชุด เหล่าเด็กสาวพากันลอดประตูปราสาทเข้ามาด้วยใบหน้าร่าเริงราวกับจะไปปิกนิค แต่ไม่มีใครที่รอดกลับมาได้ พวกเธอถูกคั้นเลือดออกมาจนหยดสุดท้ายแล้วถูกฝังไว้ในสวนหลังปราสาทโดยที่พ่อ แม่พี่น้องก็ไม่มีโอกาสจะทราบข่าวถึง

วิธีการทรมานของเอลิซาเบธ ยิ่งยกระดับเสียยิ่งกว่าเก่า มีทั้งการใช้เหล็กร้อนเผาลำคอ ใช้เครื่องทรมานบีบหน้าอก บางครั้งเธอก็ใช้มือทั้งสองของตัวเองล้วงเข้าไปในปากและฉีกร่างของเหยื่อออก เป็นสองซีก เด็กสาวบางคนที่พยายามจะหนีก็ถูกตัดเท้าทิ้ง

มีบันทึกกล่าวถึงงานฉลองที่เอลิซาเบธ จัดขึ้น เธอได้รวบรวมเด็กสาวหน้าตาดีจำนวน 60 คนมาจัดงานเลี้ยง คนแคระพากันเต้นรำ แม่มดก็พ่นไฟ เมื่องานเลี้ยงดำเนินมาถึงจุดสูงสุดนั่นเอง ประตูถูกปิดตาย และทหารก็กรูกันเข้ามา เด็กสาวที่พากันหนีลนลานบ้างก็ถูกข่มขืนแล้วแทงด้วยมีดที่กลางอก บ้างก็ถูกตัดหัว บ้างก็ถูกตัดแขนตัดขาและเสียเลือดมากจนสิ้นลม

ศพและชิ้นส่วนต่างๆถูกรวบรวมมากรองเลือดใส่อ่าง และเอลิซาเบธก็เปลื้องผ้าลงแช่ในอ่างเลือด แต่การรอให้เลือดเต็มอ่างก็ยังไม่ทันใจเธออยู่ดี เอลิซาเบธจึงทดลองวิธีที่เร็วกว่าด้วยการปาดคอเด็กสาวให้เลือดกระฉูดออกมาใส่ตนเองเหมือนฝักบัวเลือด แต่เนื่องจากเหยื่อกรีดร้องน่ารำคาญ เด็กสาวคนที่สองจึงถูกเย็บปากเพื่อรักษาสุขภาพหูของเอลิซาเบธ

อีกสิ่งหนึ่งที่เอลิซาเบธทิ้งไว้ในประวัติศาสตร์โลกก็คือ เครื่องมือทรมานที่มีชื่อเสียงที่สุดชิ้นหนึ่ง Iron Maiden นั่นเอง ช่างทำนาฬิกาถูกเรียกตัวมาจากเยอรมันเพื่อการนี้โดยเฉพาะ มีการบรรยายเกี่ยวกับสุภาพสตรีเหล็กตัวแรกสุดไว้ดังนี้

"ตุ๊กตาเหล็กนี้มีรูปร่างเป็นร่างเปลือยทาสีเนื้อ ส่วนใบหน้ามีการแต้มเครื่องสำอาง เมื่อกลไกขยับปาก ก็จะปรากฏรอยยิ้มอันเลื่อนลอยและเหี้ยมโหดขึ้นบนใบหน้า ที่อกมีพลอยประดับอยู่เป็นปุ่ม เมื่อกดปุ่ม ตุ๊กตาก็จะค่อยๆยกแขนขึ้น จากนั้นแขนก็จะเคลื่อนมาเป็นกอดอกซึ่งคนที่อยู่ในระยะรัศมีก็จะถูกแขนของ ตุ๊กตากอดไว้ พร้อมกันนั้น ส่วนตัวด้านหน้าก็จะเปิดออกเป็นบานประตู ภายในเป็นช่องกลวงและด้านหลังบานประตูมีเข็มแหลมยาวงอกอยู่ 5 เล่ม ผู้ที่ถูกตุ๊กตากอดไว้จะถูกขังอยู่ภายในตัวตุ๊กตาและถูกเข็มเหล่านี้แทง คั้นเลือดออกมาจนเสียชีวิต"

อย่างไรก็ตาม เครื่องทรมานดังกล่าวนี้ไม่ได้ถูกใช้งานจริงมากเท่าที่เข้าใจกัน เนื่องจากเข็มพากันทื่อเสียหมดเพราะเป็นสนิมจากเลือด เอลิซาเบธ จึงออกคำสั่งใหม่ให้สร้างกรงเหล็กขนาดใหญ่ซึ่งมีเข็มแหลมอยู่ภายใน กรงดังกล่าวจะถูกเฟืองโซ่ยกขึ้นสูงจากพื้นโดยมีเด็กสาวอยู่ข้างใน และเมื่อเขย่ากรง เลือดก็จะกระจายลงมาสู่เอลิซาเบธ ที่อยู่เบื้องล่างราวกับเป็นฝนเลือด

จนเวลาผ่านไปเกือบห้าปี ลูกสาวชาวไร่ชาวนาหายสาบสูญไปจนหมดสิ้น ความผิดพลาดเอลิซาเบธเกิดขึ้นเมื่อเธอไปเที่ยวที่เมืองวีน เหตุการณ์สยองจึงเริ่มเกิดต่อสาธารณชนรับรู้ครั้งแรก เมื่อมีผู้ได้ยินเสียงผู้หญิงร้องดังออกจากห้องพักของเอลิซาเบธ

เอลิซาเบทหันไปหาพวกธิดาของพวกผู้ดีมีตระกูล บางรายเป็นลูกของเพื่อนๆผู้สูงศักดิ์ของเธอด้วยซ้ำ ถึงตอนนี้บ่าวไพร่หมดปัญญาจะเอาศพไปทิ้งไม่ให้ใครเห็นเพราะมีเหยื่อมากมาย ก่ายกองจนต้องโยนออกมาในตอนกลางคืนเพื่อให้ฝูงหมาป่ารุมกินเป็นความเอร็ด อร่อยยามดึก แต่สุดท้ายแล้ว เมื่อฝูงหมาป่าก็กินไม่หมด คราวนี้ละพวกญาติๆที่มาตามหาสาวน้อยของพวกเขาก็ได้เห็นภาพอันสยองขวัญ ตอนแรกมีชาวบ้านมาพบกองซากศพที่ซีดเผือกไม่มีเลือดอยู่เหลือเลยแม้แต่หยด เดียว เลยเกิดล่ำลือไปว่าในป่านี้มีผีดิบดูดเลือดอยู่

คนเลี้ยงสัตว์ของเอลิซาเบธจึงรีบไปตรวจดูและพบว่าเสียงนั้นเป็นเสียงของนัก ร้องสาวของสมาคมแห่งหนึ่งในเมืองนั้น ภาพที่เห็น หญิงสาวถูกตัดมือ ตัดเท้า และเสียชีวิต ตายตรงหน้าเอลิซาเบธ เธอบอกกับคนเลี้ยงสัตว์ของเธอว่า นักร้องผู้นี้ทำความผิด จึงมีโทษต้องตาย และนี่คือความผิดพลาดของเอลิซาเบธเพราะคนเลี้ยงสัตว์คนนี้ก็ปากเปราะเสีย ด้วยสิ

ว่าแล้วกิตติศัพท์นี้ย่อมต้องกลายเป็นที่เลื่องลือในไม่ช้า ประชาชนก็เริ่มร้องเรียนเรื่องไปยังราชสำนักถึงเรื่องคนหาย และมีญาติของเด็กหลายรายยืนยันว่าเด็กสาวที่ตายกันเป็นกองๆใกล้ปราสาทของเอ ลิซาเบธ อยู่นั้นล้วนแล้วแต่ถูกล่อลวงให้มาที่ปราสาทเธอ

และแล้วพระเจ้าแมทเทียสที่ 2 ก็ทรงเข้ามาจัดการกับคดีนี้ด้วยพระองค์เอง .....เดือนธันวาคมปี 1610 เมื่อมาร์ควิสเธอร์โซซึ่งเป็นญาติของเอลิซาเบธ ไปยังห้องใต้ดินของปราสาทเซติช เขาก็ต้องผงะกับสิ่งที่ตัวเองพบ เครื่องทรมานจำนวนนับไม่ถ้วน รอยเลือดที่ชโลมอยู่แทบทุกที่และศพที่กองเป็นภูเขา บางศพถูกตัดทรวงอก บางศพถูกเฉือนเนื้อ บางศพก็ศีรษะถูกทุบจนแหลก และบางศพก็เต็มไปรู กลิ่นเลือดตลบอบอวลไปทั่วทั้งห้อง มีเด็กสาวบางคนถูกช่วยออกมาได้ แต่ก็เกือบไม่รอดเหมือนกันเพราะพวกเขาพบเธอในขณะที่นอนหายใจรวยรินยังไม่ เสียชีวิต เธอเล่าว่าเธอถูกจับมาพร้อมเพื่อนสาวอีกเป็นจำนวนมากโดยมีสาวใช้สองคนของเอ ลิซาเบธคือ นางดอลค์และนางรีโอน่า เป็นคนสังหารนำเลือดมาให้ผู้เป็นนายชโลมผิว เพราะเชื่อว่าเลือดคือยาอายุวัฒนะ แต่ก็ยากที่บอกว่าพวกเธอปลอดภัยดี เพราะหลายคนถูกบังคับให้กินเนื้อจากศพของเด็กสาวคนอื่น จนบางคนกลายเป็นคนวิกลจริตด้วยซ้ำ เอลิซาเบธ บาโธรี่ ถูกสอบสวนในปี ค.ศ. 1610 อย่าว่าแต่พวกชาวไร่ชาวนาเลย บรรดาผู้ดีมีตระกูลทั้งหลายต่างอาฆาตแค้น และญาติสนิทของเธอเองก็โกรธเคืองอย่างหนักว่าเธอซาดิสต์ขนาดนี้ วงส์ตระกลูบาโธรี่เสื่อมเสียกันหมด ไม่มีอำนาจใดๆที่จะช่วยให้นางฟ้าหรือผีห่าซาตานตนนี้พ้นผิดไปได้แล้ว ลูกมือของเคาน์เตสเปิดปากสารภาพเล่าวิธีการ และบอกถึงรายนามเหยื่อเท่าที่พวกเขาจำได้เฉพาะที่จำได้ก็ปาเข้าไปตั้ง 160 ศพ เดือนมกราคมปี 1611 การตัดสินคดีของเอลิซาเบธถูกจัดขึ้นที่พิซเซ่ เอลิซาเบธได้รับอนุญาตให้ไม่ต้องมาขึ้นศาลด้วยตัวเอง และเนื่องจากฎีกาของตระกูลบาโธรี่ เธอก็รอดพ้นจากโทษประหารในขณะที่ผู้มีส่วนร่วมในการสังหารทุกคนต่างก็ถูกตัดสินโทษเผาทั้งเป็น โดยผู้มีส่วนร่วมเป็นสาวใช้สองคนที่ทำหน้าที่ค้นหาและจับผู้หญิงสาวเคราะห์ร้ายมาสังเวยแก่เธอถึง 605 คน

หลังการไต่สวนสมุนเอกของเคาน์เตสถูกลงโทษโดยการเผาทั้งเป็นในที่สาธารณะเธอ ถูกลากกลับไปที่ปราสาทเซติซ ของเธอเอง ที่นั้นเธอถูกรุนเข้าไปอยู่ในห้องเล็กๆ ห้องหนึ่งแล้ว เจ้าหน้าที่ของบ้านเมืองก็ก่ออิฐปิดหน้าต่างและประตูทั้งหมด เหลือไว้เพียงชองเล็กนิดเดียวที่พอจะสอดอาหารและน้ำส่งให้เธอได้ ลองโดนขังไม่ได้เห็นเดือนเห็นตะวันขนาดนี้ เป็นคนอื่นล่ะตายไปนานแล้วแต่บาปหนาของเธอทำให้เธอยังมีชีวิตอยู่รู้รสความทรมานที่แสนสาหัสนานถึง 4 ปี

การตัดสินโทษของเอลิซาเบธ ถูกโอนให้เป็นอำนาจของตระกูลบาโธรี่ และโดยผลการประชุมของตระกูล เอลิซาเบธ ก็ถูกตัดสินให้ถูกจองจำอยู่ในปราสาทเซติชไปจนตลอดชีวิตในห้องขังอันมืดมิด ซึ่งประตูถูกโบกปูนปิดตายตลอดชิวิต ไม่ให้หลุดมาทำอันตรายใครได้อีก

21 สิงหาคม 1614 ก็เป็นวันที่ปราศจากสัญญาณชีวิตจาก เอลิซาเบธ บาโธรี่ ช่องเล็กๆ เพียงช่องเดียวก็ได้ถูกอิฐก่อปิดสนิทลง แต่มีบางตำนานกล่าวว่าเธอหนีออกไปได้และกลายเป็นผีร้ายอยู่ในป่าของฮังการี่ ทุกวันนี้ ปราสาทเซติซ บนภูเขาคาร์ลปาเชีย ในสโลวาเกีย ที่ซึ่งในอดีตเป็นสถานที่สังหารเหยื่อของเอลิซาเบธ ยังคงตั้งตระหง่านอยู่ที่นั่น แม้จะเหลือแต่ซากปรักหักพังแล้ว แต่มันก็ยังน่าสะพรึงกลัวอยู่เช่นเดิม

วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

LES VOCABULAIRES (คำศัพท์)

là-bas (ลาบ่า) ที่นั่น

ici ( อีซิ )ที่นี่

proche (โพช) ใกล้

loin (ลวง) ไกล

tout droit (ตุ๊ ดรัว) ตรงไป

à gauche (อา โกช )ทางซ้าย

à droite (อา ทดัว) ทางขวา

en haut (ออง โอ) ข้างบน

en bas (ออง บา) ข้างล่าง

devant le magasin (เดอวอง เลอ มากาซัง) ข้างหน้าร้านค้า

derrière (แดริแย )ข้างหลัง

en face (ออง ฟาส) ฝั่งตรงข้าม

à l'intérieur (อา แลงแตริเยอ) ข้างใน

à l'extérieur (อา เล๊กแตริเยอ) ข้างนอก

entre (อ้อง) ระหว่าง

au coin de (โอ กวง เดอ) อยู่ตรงมุม

près de (แพร เดอ )ใกล้จาก

à côté de (อา โกเต้ เดอ) ข้างๆ

avant (อาวอง )ก่อนหน้า

après (อัพแพร) หลังจาก

sur (ซู )บน

sous (ซุ )ล่าง

dans (ดอง) ใน

Tournez à droite (ตูนเน่ อา ทดัว )เลี้ยวขวา

Traversez la rue (ทาแวกเซ่ ลา ครู) ข้ามถนน