วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

รางวัลซีไรต์ คือ...


รางวัลซีไรต์ คือ...


เมื่อต้นปี พ.ศ. 2522 ฝ่ายบริหารของโรงแรมโอเรียนเต็ลได้ริเริ่มรางวัลนี้ เนื่องจากโรงแรมโอเรียนเต็ลมีประวัติเกี่ยวข้องกับนักเขียนชั้นนำของโลกมาเป็นเวลาช้านาน จะเห็นได้จากการที่อาคารเก่าแก่ของโรงแรมที่ชื่อว่า "ตึกนักเขียน" (AUTHORS’ RESIDENCE) อันประกอบด้วยห้องชุดพิเศษ โดยใช้ชื่อนักเขียนคนสำคัญที่เคยมาพัก ได้แก่ ซอมเมอร์เซ้ท มอห์ม โนเอล โฆเวิด โจเซฟ คอนราด และเจมส์ มิเชนเนอร์ นอกจากนี้ยังมีห้องชุดเกรแฮม กรีน จอห์น เลอ คาร์เร่ และ บาร์บาร่า คาร์ทแลนด์ ในตึกริเวอร์วิงด้วย

ฝ่ายบริหารของโรงแรมโอเรียนเต็ล จึงได้ร่วมปรึกษากับ บริษัท การบินไทย และกลุ่มบริษัทในเครืออิตัลไทย จัดตั้งรางวัลวรรณกรรมนี้ขึ้น โดยมีพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเปรม บุรฉัตร ทรงเป็นประธานและได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย หัวข้อในการหารือในครั้งนั้น คือ การส่งเสริมสนับสนุนนักเขียนในกลุ่มอาเซียนทั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และ ไทย และการเผยแพร่ให้โลกรู้ถึงวัฒนธรรมทางวรรณกรรมของภูมิภาคนี้ ต่อมาได้มีประเทศต่างๆในกลุ่มอาเซียนทยอยเข้าร่วมงานซีไรต์จนครบสิบประเทศดังนี้ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ประเทศบรูไนดารุสซาลัมเข้าร่วมเมื่อปี 2529ประเทศเวียดนามเข้าร่วมเมื่อปี 2539 ประเทศลาว และพม่าเข้าร่วมเมื่อปี 2541 ประเทศกัมพูชาเข้าร่วมเมื่อปี 2542


วัตถุประสงค์มีดังนี้ คือ

*เพื่อให้เป็นที่รู้จักถึงความสามารถด้านสร้างสรรค์ของนักเขียนในกลุ่มประเทศอาเซียน
*เพื่อให้ทราบถึงโภคทรัพย์ทางวรรณกรรม ทรัพย์สินทางปัญญาวรรณศิลป์แห่งกลุ่มประเทศอาเซียน
*เพื่อรับทราบ รับรอง ส่งเสริมและจรรโลงเกียรติ อัจฉริยะ ทางวรรณกรรมของนักเขียนผู้สร้างสรรค์
*เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและสัมพันธภาพอันดีในหมู่นักเขียนและประชาชนทั่วไปในกลุ่มประเทศอาเซียน

กฎเกณฑ์การเลือกสรรงานวรรณกรรม มีดังนี้ คือ

*เป็นงานเขียนภาษาไทย

*เป็นงานริเริ่มของผู้เขียนเอง มิใช่งานแปลหรือแปลงจากของผู้อื่น

*ผู้เขียนยังมีชีวิตอยู่ขณะส่งงานเข้าประกวด

*เป็นงานตีพิมพ์เผยแพร่ (มี ISBN) เป็นเล่มครั้งแรกย้อนหลังไม่เกิน 3 ปี ภายในวันสิ้นกำหนดส่งงาน

*งานวรรณกรรมที่เคยได้รับรางวัลอื่นใดในประเทศไทยมาแล้วจะส่งเข้าพิจารณาอีกก็ได้

*รางวัลที่ตัดสินในแต่ละปีจะสลับประเภทของวรรณกรรม เป็น นวนิยาย กวีนิพนธ์ และเรื่องสั้น




รางวัลประกอบด้วย

*แผ่นโลหะจารึกเป็นอนุสรณ์เกียรติประวัติ

*นักเขียนไทยที่ได้รับรางวัลซีไรต์มีสิทธิเลือกไปเที่ยวประเทศใดประเทศหนึ่งในกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นเวลา 1 สัปดาห์ โดยผู้จัดจะเป็นผู้ออกค่าเดินทาง ค่าที่พัก และอาหาร ทั้งหมด สามารถใช้สิทธิภายในระยะเวลา 1 ปี

*นักเขียนกลุ่มประเทศอาเซียน 9 ประเทศ มารับรางวัลพร้อมกับทัศนาจรที่ประเทศไทยกับนักเขียนซีไรต์ไทย เป็นเวลา 1 สัปดาห์

*เงินสด



รายชื่อนักเขียนชาวไทย ผู้ได้รับรางวัลซีไรต์ เรียงลำดับตามปีที่ได้รับรางวัล



ปี พ.ศ.นักเขียนประเภทชื่อเรื่อง
พ.ศ. 2522 คำพูน บุญทวี นวนิยาย ลูกอีสาน
พ.ศ. 2523 เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กวีนิพนธ์ เพียงความเคลื่อนไหว
พ.ศ. 2524 อัศศิริ ธรรมโชติ รวมเรื่องสั้น ขุนทอง เจ้าจะกลับมาเมื่อฟ้าสาง
พ.ศ. 2525 ชาติ กอบจิตติ นวนิยาย คำพิพากษา
พ.ศ. 2526 คมทวน คันธนู บทกวี นาฎกรรมบนลานกว้าง
พ.ศ. 2527 วาณิช จรุงกิจอนันต์ เรื่องสั้น ซอยเดียวกัน
พ.ศ. 2528 กฤษณา อโศกสิน นวนิยาย ปูนปิดทอง
พ.ศ. 2529 อังคาร กัลยาณพงศ์ บทกวี ปณิธานกวี
พ.ศ. 2530 ไพฑูรย์ ธัญญา เรื่องสั้น ก่อกองทราย
พ.ศ. 2531 นิคม รายยวา นวนิยาย ตลิ่งสูง ซูงหนัก
พ.ศ. 2532 จิระนันท์ พิตรปรีชา บทกวี ใบไม้ที่หายไป
พ.ศ. 2533 อัญชัน รวมเรื่องสั้น อัญมณีแห่งชีวิต
พ.ศ. 2534 มาลา คำจันทร์ นวนิยาย เจ้าจันท์ผมหอม นิราศพระธาตุอินทร์แขวน
พ.ศ. 2535 ศักดิ์ศิริ มีสมสืบ บทกวี มือนั้นสีขาว
พ.ศ. 2536 ศิลา โคมฉาย เรื่องสั้น ครอบครัวกลางถนน
พ.ศ. 2537 ชาติ กอบจิตติ นวนิยาย เวลา
พ.ศ. 2538 ไพวรินทร์ ขาวงาม บทกวี ม้าก้านกล้วย
พ.ศ. 2539 กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ เรื่องสั้น แผ่นดินอื่น
พ.ศ. 2540 วินทร์ เลียววาริณ นวนิยาย ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน
พ.ศ. 2541 แรคำ ประโดยคำ บทกวี ในเวลา
พ.ศ. 2542 วินทร์ เลียววาริณ เรื่องสั้น สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน
พ.ศ. 2543 วิมล ไทรนิ่มนวล นวนิยาย อมตะ
พ.ศ. 2544 โชคชัย บัณฑิต' บทกวี บ้านเก่า
พ.ศ. 2545 ปราบดา หยุ่น เรื่องสั้น ความน่าจะเป็น
พ.ศ. 2546 เดือนวาด พิมวนา นวนิยาย ช่างสำราญ
พ.ศ. 2547 เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ กวีนิพนธ์ แม่น้ำรำลึก
พ.ศ. 2548 บินหลา สันกาลาคีรี เรื่องสั้น เจ้าหงิญ
พ.ศ. 2549 งามพรรณ เวชชาชีวะ นวนิยาย ความสุขของกะทิ
พ.ศ. 2550 มนตรี ศรียงค์ บทกวี โลกในดวงตาข้าพเจ้า
พ.ศ. 2551 วัชระ สัจจะสารสิน รวมเรื่องสั้น เราหลงลืมอะไรบางอย่าง”

รางวัลโนเบล


รางวัลโนเบลเป็นความตั้งใจก่อนเสียชีวิตของ อัลเฟรด โนเบล (Alfred Nobel) นักเคมีชาวสวีเดนผู้คิดค้นระเบิดไดนาไมต์ ซึ่งรู้สึกเสียใจจากการที่ระเบิดของเขาถูกนำไปใช้ในการคร่าชีวิตมนุษย์ เขาจึงมอบ94% ของทรัพย์สินมาให้เป็นเงินทุนในรางวัลโนเบล 5 สาขา (เคมี, การแพทย์, วรรณกรรม, สันติภาพ และฟิสิกส์)
สำหรับสาขาเศรษฐศาสตร์นั้น ได้เพิ่มเข้ามาเมื่อ พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969)โดยธนาคารแห่งชาติสวีเดน โดยชื่ออย่างเป็นทางการคือ Bank of Sweden Prize in Economic Sciences in Memory of Alfred Nobel (รางวัลธนาคารกลางสวีเดน สาขาเศรษฐศาสตร์ ในความทรงจำถึง อัลเฟรด โนเบล) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Nobel Memorial Prize in Economics โดยผู้ตัดสินรางวัลคือ Royal Swedish Academy of Sciences. เนื่องจากรางวัลนี้ไม่ได้อยู่ในความตั้งใจก่อนเสียชีวิตของ อัลเฟรด โนเบล ดังนั้นจึงไม่ได้รับเงินรางวัลจากมูลนิธิโนเบล แต่ได้รับเงินจากธนาคารกลางสวีเดน อย่างไรก็ตาม รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์มีศักดิ์และสิทธิ์เท่ากับรางวัลในสาขาอื่น ๆ การมอบรางวัลนี้ ก็จะมอบในวันเดียวกันกับรางวัลโนเบลสาขาอื่น โดยมีกษัตริย์สวีเดนเป็นผู้มอบตั้งแต่ปี 1902 เป็นต้นมา ได้รับเหรียญตรา และจำนวนเงินเท่าเทียมกัน ซึ่งในตอนแรกนั้นกษัตริย์ออสการ์ที่ 2 แห่งสวีเดนทรงไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการมอบรางวัลที่สำคัญสูงสุดระดับประเทศนี้ให้กับคนต่างชาติ แต่สุดท้ายพระองค์ก็ทรงเปลี่ยนพระทัยเนื่องจากทรงเล็งเห็นว่ารางวัลที่สำคัญนี้จะสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ

ประเทศในตะวันออกกลาง



ประเทศในตะวันออกกลาง

บาห์เรน                            เมืองหลวงคือ มานามา
อียิปต์                               เมืองหลวงคือ ไคโร
อิหร่าน                             เมืองหลวงคือ เตหะราน
ตุรกี                                  เมืองหลวงคือ อังการา
อิรัก                                  เมืองหลวงคือ แบกแดด
อิสราเอล                         เมืองหลวงคือ เยรูซาเล็ม
จอร์แดน                          เมืองหลวงคือ อัมมาน
คูเวต                               เมืองหลวงคือ คูเวตซิตี้
เลบานอน                        เมืองหลวงคือ เบรุต
โอมาน                            เมืองหลวงคือ มัสกัต
กาตาร์                             เมืองหลวงคือ โดฮา
ซาอุดีอาระเบีย                เมืองหลวงคือ ริยาด
ซีเรีย                                เมืองหลวงคือ ดามัสกัส
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์     เมืองหลวงคือ อาบูดาบี
เยเมน                              เมืองหลวงคือ ซานา
และดินแดนปาเลสไตน์ (เวสต์แบงก์และฉนวนกาซา)

วรรณกรรมลูกอีสาน



  

ลูกอีสาน เป็นการนำเอาเรื่องราว จากประสบการณ์ ที่ผู้เขียนพบเห็น ถ่ายทอดในรูปนิยาย โดยได้เขียนเป็นตอนๆ ประมาณ36 ตอน เพื่อพิมพ์ลง ในนิตยสารฟ้าเมืองไทย ช่วงปีพ.ศ.2518-2519 ลูกอีสาน ใช้วิธีการเล่าเรื่องราว โดยผ่านเด็กชายคูน ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ ในถิ่นชนบท ของอีสาน แถบที่จัดได้ว่า เป็นถิ่นที่แห้งแล้ง แห่งหนึ่งของไทย ผู้เขียนได้เล่าถึง ขนบธรรมเนียม ประเพณี ตลอดจน ความเชื่อของชาวอีสาน รวมไปถึง การบรรยาย ถึงสภาพความเป็นไป ตามธรรมชาติ ของผู้คน และสภาพแวดล้อม เช่น การเกี้ยวพาราสีกัน ของทิดจุ่น และพี่คำกอง จนท้ายที่สุด ก็ได้แต่งงานกัน การออกไปจับจิ้งหรีดของคูน การเดินทางไปหาปลา ที่ลำน้ำชี เพื่อนำปลามาทำอาหาร และเก็บถนอม เอาไว้กินนานๆ ด้วยการทำปลาร้า เป็นต้น นอกจากนั้น ยังแทรกความสนุกสนาน เพลิดเพลิน จากการทำบุญ ตามประเพณี ไว้หลายตอน ด้วยเช่นกัน ได้แก่ การจ้างหมอลำหนู ซึ่งเป็นหมอลำ ประจำหมู่บ้าน ลำคู่กับหมอลำฝ่ายหญิง ที่ว่าจ้างมาจากหมู่บ้านอื่น ทั้งกลอนลำ และการแสดงออก ของหมอลำทั้งสอง สร้างความสนุกสนาน ครึกครื้น แก่ผู้ชมที่มาเที่ยวงาน อย่างมาก ลูกอีสาน เป็นการถ่ายทอดเรื่องราว จากประสบการณ์ ด้วยภาษาที่ตรงไปตรงมา และแสดงให้เห็นวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ของชาวอีสานว่า ต้องเผชิญ กับความยากลำบากอย่างไร การเรียนรู้ ที่จะอดทน เพื่อเอาชนะ กับความยากแค้น ตามธรรมชาติ ด้วยความมานะบากบั่น ความเอื้ออารี ที่มีให้กันในหมู่คณะ ความเคารพ ในระบบอาวุโส สิ่งเหล่านี้ ปรากฏอยู่ในแต่ละตอน ของลูกอีสาน รวมทั้ง การแทรกอารมณ์ขัน ลงไปด้วย


วรรณกรรมอยู่กับก๋ง B)



เรื่องย่ออยู่กับก๋ง



บ้านสวน พ.ศ.2548 หยก ชาย ชราวัย 60 ปี ประสบความสำเร็จในอาชีพนักเขียนของตน มีผลงานตีพิมพ์มากมาย ทุก วันนี้เขาอาศัยอยู่กับครอบครัวใหญ่ มีลูกหลานมากมาย เมื่อ มองภาพครอบครัวที่อบอุ่นอย่างทุกวันนี้ หยก มักจะย้อนคิดถึงวัยเด็กที่มีเพียงเขาและ ก๋ง ทุกครั้ง

ก๋ง ชาย ชราชาวจีนที่อพยพเข้ามาประเทศไทย ตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลก ก๋งเป็นช่างฝีมือ ประกอบ อาชีพหลักคืองานซ่อมเซรามิค อันเป็นวิชาที่ติดตัวมาจากเมืองจีน ความ คิดอ่านที่กว้างไกลและความเมตตาของก๋ง ทำให้ ก๋งได้รับการนับหน้าถือตาจากผู้คนมากมายในชุมชนห้องแถวที่อาศัยอยู่ ซึ่ง ผลบุญนี้ได้ตกมาถึง หยก เด็กกำพร้าที่ก๋งได้อุปการะไว้ หยก เติบโตอย่างอบอุ่นภายใต้การเลี้ยงดูของก๋ง แต่ เขาก็ยังรู้สึกถึงความไม่สมบูรณ์ของตัวเอง หยก มักสงสัยว่าทำไมตนจึงไม่มีพ่อแม่เหมือนคนอื่น จนวัน หนึ่งหยกได้พบเห็นเด็กกำพร้าที่ถูกเอามาวางทิ้งไว้ หยก จึงได้เข้าใจว่าโลกนี้ยังมีเด็กโชคร้ายอีกหลายคนนัก และเพื่อนเขาบางคนเช่น ป้อม ลูก ชายของ คุณนายทองห่อ กับคุณปลัด ที่แม้จะมีพ่อแม่พร้อมหน้า หาก หยกได้รู้ความจริงว่าภายใต้รอยยิ้มนั้น มีแต่การปั้นหน้าใส่กัน หยกจึงเข้าใจว่า แท้ จริงแล้วการที่เขามีก๋งคอยให้ความรักกับเขาอย่างแท้จริงต่างหากที่ทำให้เขาเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แล้ว

ชุมชน ห้องแถวที่ก๋งและหยกอาศัยอยู่เป็นแหล่งรวมคนจีนมากหน้า เพื่อน บ้านที่สนิทกันอยู่ก็คือ เง็กจู ซึ่ง เป็นที่ยึดติดกับธรรมเนียมจีนอย่างเหนียวแน่น และไม่ค่อยยอมรับความเปลี่ยนแปลง เง็ก จูมีลูกชายคือ เพ้ง และลูกสาวคือ เกียว หลายครั้งที่เง็กจูมีปัญหากับลูก ก๋งจะ เป็นคนคอยแก้ปัญหาให้ทุกครั้ง ไม่ ว่าจะเป็นตอนที่เกียวแหกประเพณีเดิมของผู้หญิงจีน หนีไปเรียนภาคค่ำ หรือ ตอนที่เพ้งรับ นวล ภรรยาคนไทยเข้าบ้าน จนเง็กจูขู่จะฆ่าตัวตาย ก๋ง เป็นคนชี้ทางสว่างให้เง็กจูเห็นและยอมปรับทัศนคติเพื่ออยู่ร่วมกับลูกหลานในโลกปัจจุบันให้ได้

หรือแม้แต่คนไทยบางคนที่ มาเช่าบ้านอยู่ในชุมชนจีนนี้ ก๋งก็ เป็นคนจีนคนเดียวที่ยื่นมือให้ความช่วยเหลือ ขณะที่คนจีนคนอื่นๆ ตั้ง แง่รังเกียจ ไม่ว่าจะเป็น สมพร หญิงสาวผู้โชคร้ายที่หนีออกมาจากซ่องโสเภณี แฉล้ม และไพศาล คู่ผัวเมียที่ทะเยอทะยานในวัตถุจนตกเป็นทาสการพนัน และหาญ กับ จำเรียง หนุ่มสาวที่วิวาห์เหาะมาจากกรุงเทพฯ ชุมชนห้องแถว พ.ศ.2548 หยก กลับ ไปเยี่ยมชุมชนห้องแถวอีกครั้ง เขาเพ่งมองภาพถ่ายขาวดำของงานวันแซยิด ใน ห้องแถวหลังเก่าของตัวเอง เรื่องราวเก่าๆ ยังคงฉายชัดอยู่ในความทรงจำของเขา แม้ ว่าวันนี้ชุมชนห้องแถวจะเปลี่ยนแปลงและเจริญขึ้นมากกว่าวันก่อนแล้วก็ตาม หน้า ห้องแถวห้องหนึ่ง เด็กชายคนหนึ่งนอนอ่านหนังสือให้อากงของตัวเองฟัง หยก นึกถึงภาพตัวเองกับก๋งในวัยเด็ก และยิ้มออกมาเมื่อเห็นชื่อหนังสือ “อยู่ กับก๋ง” บน หน้าปก หยกเหม่อมองท้องฟ้าราวกับจะมองหาก๋ง อยากให้ก๋งได้เห็นว่าวันนี้ เขา ได้ทำตามสัญญาที่เคยให้ไว้กับก๋งแล้ว

 

 

ความ คิดที่ได้จาก เรื่อง อยู่กับ ก๋ง

ความยาก จน...กำลังใจของชีวิต

ไม่ต้องอายที่เป็นคนจน แต่ ควรอายที่เป็นคนเลว เพราะความจนความรวยเราเลือกไม่ได้ แต่ความดีความเลว เรา เลือกทำเลือกเว้นได้...ความสุขของคนร่ำรวย คือ การ นั่งเก็บเกี่ยวผลไม้จากงานที่ทำสำเร็จไปแล้วในอดีต แต่คน จนมีความสุขกับการได้เริ่มทำงาน ความจนเป็นนายที่คอยชี้นิ้วบัญชา ความ ดิ้นรนเป็นมือที่คอยผลักดัน ความเพียรเป็นพี่เลี้ยงคอยพยุงมิให้ระทดท้อ เทพเจ้า แห่งความโชคดีไม่เคยเอื้อมมือมาแตะหน้าผากอวยชัยคนที่เกียจคร้าน ก๋ง สอนให้หยกยอมรับความเป็นจริงของชีวิต มีความมั่นใจในตัวเอง...เข้มแข็ง บุกบั่น เพื่อความอยู่รอด หยกเป็นสุขได้ในความขัดสนยากจน และ ไม่เคยท้อแท้

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

คำศัพท์ [lexique] :



- varier (v.) = แตกต่าง, หลากหลาย
- selon (prép) = ตาม, สอดคล้องกับ
- (s') adresser = พูด, กล่าว, แสดง, ส่ง
- voeu(x) (n.m.) = คำอวยพร, ความปรารถนา
- gui (n.m.) = เถาวัลย์ไม้ชนิดหนึ่ง
- accrocher (v.) = แขวนไว้, เกี่ยวไว้กับ
- porter bonheur (v.) = นำความสุขหรือโชคมาให้
- galette (n.f.) = ขนมชนิดหนึ่ง นิยมรับประทานกันในเทศกาล fête des rois
- contenir (v.) = ประกอบไปด้วย, บรรจุ
- fève (n.f.) = เมล็ดถั่ว
- bander (v.) = ปิด, คาดด้วยแถบผ้า...
- avaler (v.) = กลืน
- couronner (v.) = สวมมงกุฎ
- fin / fine (adj.) = บาง, ละเอียด, ประณีต
- doré (adj.) = ที่เป็นสีทอง
- regard (n.m.) = สายตา, การมอง
- admiratif / admirative (adj.) = ที่ชื่นชม / admirer (v.) = ชื่นชม, ชื่นชอบ
- sauter (v.) = กระโดด, โยนให้ลอยขึ้นไป
- carnaval (n.m) = งานคาร์นาวัล
- précéder (v.) = นำ, นำหน้ามา
- carême (n.m.) = การถือศิลอด
- jeûne n.m) = การงดอาหาร
- pratiquant (adj. et n.) = บุคคลที่เคร่ง, ที่ฝึกปฎิบัติ
- se déguiser (v.) = แปลงโฉม, แปลงร่าง, อำพรางกาย
- amoureux (adj. et n.) = ที่มีความรัก, คนที่มีความรัก
- comémorer (v.) = ระลึกถีง
- résurrection (n.f.) = การฟื้นคืนชีพ
- déposer (v.) = วางไว้, ปล่อยไว้
- survoler (v.) = บินเหนือ
- farce (n.f.) = เรื่องตลก, เรื่องหยอกล้อ [= blague]
- impôt (n.m.) = ภาษีรายได้
- tache (n.f.) = รอยเปื้อน
- Poisson d'avril ! poisson d'avril ! [ใช้พูดเมื่อเราอำหรือหรอกใครได้เป็นผลสำเร็จ = April Fool !]
- muguet (n.m.) = ดอกไม้ชนิดหนึ่งมีสีขาวและกลิ่นหอม มีลักษณะเป็นรูปทรงกระดิ่งเล็ก
- tellement (adv.) = มาก, มากเหลือเกิน
- sentir bon (mauvais) = มีกลิ่นหอม (เหม็น)
- brin (n.m.) = กิ่งเล็กๆ
- jouer aux boules = เล่นกีฬาเปตอง (=faire une partie de pétanque)
- reprendre le chemin de ... = กลับ (มาทำงาน, มาโรงเรียน ...)
- manifestation (n.f.) = การแสดงออก
- spontané (adj.) = (ในที่นี้ = การแสดง) สด, ปัจจุบันทันด่วน
- organisé (adj.) = (ในที่นี้ = การแสดง) ที่จัดหรือเตรียมการ
- autour (prép.) = รอบๆ, (ในที่นี้ = เกี่ยวกับ)
- veille (n.f.) = วันก่อนหน้า(วันงานหรือเทศกาล)
- feu(x) d'artifice (n.m) = พลุ, ดอกไม้ไฟ
- lendemain (n.m.) = วันรุ่งขึ้น (วันหลังจากงานหรือเทศกาล)
- applaudir (v.) = ปรบมือ
- défilé (n.m.) = การเดินแถว, การเดินโชว์ / un défilé militaire = การเดินสวนสนามของทหาร / un défilé de mode = การเดินแฟชั่น
- malgré (prép.) = ทั้งๆที่, ถึงแม้ว่า
- effort (n.m.) = ความพยายาม
- être retenu (v. au passif) = ถูกรั้งไว้, ติดธุระ, ไม่ว่าง
- lavage (n.m.) = การซักล้าง / laver (v.) = ซัก, ล้าง
- repassage (n.m.) = การรีดผ้า / repasser le linge (v.) = รีดผ้า
- merveille (n.f.) = ความมหัศจรรย์, สิ่งมหัศจรรย์ / merveilleux / merveilleuse (adj.) = มหัศจรรย์
- (se) garer (v.) = จอดรถ...
- sauf (prép.) = ยกเว้น, นอกจาก
- (s') étonner (v.) = ทำให้ประหลาดใจ, รู้สึกประหลาดใจ
- place (n.f.) = (ในที่นี้)จตุรัส, ที่ว่าง, ที่นั่ง, สถานะ
- désert / déserte (adj.) = ที่ไร้ผู้คน, ที่ว่างเปล่า
- moindre (adj.) = (ขั้นสูงสุดของ petit) เล็ก, น้อยที่สุด
- carré (adj. et n.m.) = (สี่เหลียมจตุรัส) ตาราง (เมตร, กิโลเมตร..)
- mort (adj.) = ที่ตายแล้ว / un mort (n.m.) = คนที่ตาย / la mort (n.f.) = ความตาย
- cimetière (n.m.) = สุสาน, ที่ฝังศพ
- fleurir (n.f.) = ประดับด้วยดอกไม้, ผลิดอก, ออกดอก
- congé (n.m.) = วันหยุด
- coiffer (v.) = ทำผม / coiffe (n.f.) = เครื่องประดับผม / coiffure (n.f.) = ทรงผม / coiffeur / coiffeuse (n.) = ช่างทำผม
- saint(e) (n.) = นักบุญ
- fabriquer (v.) = ผลิต, ทำขึ้น
- bonnet (n.m.) = หมวก
- original (adj.) = แปลก, ประหลาด
- maison de couture (n.f.) = ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า
- catherinette (n.f.) = สาวๆที่ชื่อคาทรีน (สาวน้อยคาทรีน)
- tant (adv.) = มาก, มากเหลือเกิน
- lumière (n.f.) = แสง
- sapin (n.m.) = ต้นสน / sapin de Noël = ต้นคริสต์มาส
- cloche (n.f.) = กระดิ่ง, ระฆัง
- composer (v.) = ประกอบขึ้นเป็น, ทำขึ้น
- réveillon (n.f.) = อาหารมื้อพิเศษ ที่รับประทานกันในวันคริสต์มาส และ วันขึ้นปีใหม่
- bûche de Noël (n.f.) = ขนมเค๊กรูปฟืนไม้ ที่รับประทานกัน ในวันคริสต์มาส
- dinde (n.f.) = / dindon (n.m.) = ไก่งวง
- cheminée (n.f.) = (ในที่นี้)เตาผิง, ปล่องไฟ
- prendre la route (v.) = ออกเดินทาง